คำสอน

สำคัญ คือ การให้

ทานํ เทติ ทานการให้ คนเราจำเป็นต้องให้ทุกคน ถ้าไม่สละ ไม่ให้ไม่ได้ เพราะถ้าไม่ให้กันแล้ว จะได้ประโยชน์อย่างไร หากให้กันแล้ว จึงจะได้ประโยชน์ แต่ว่าต้องให้โดยไม่มุ่งหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดตอบแทน จึงจะเป็นทานแท้ๆ ถ้ามุ่งหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ไม่เป็นทานถ้าว่าคนมีปัญญาฉลาดอย่างนี้ ตระกูลของตนจะใหญ่โตสักปานใดก็ตาม ให้ให้หนักเข้า คนก็จะมากขึ้นเป็นลำดับ เป็นสุขขึ้น กินก็เป็นสุข นอนก็เป็นสุข ทั้งกาย วาจา และใจ เพราะการให้นั่นแหละเป็นตัวสำคัญที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๔๑ – ๔๒  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

ดวงบุญช่วย

เมื่อสละไทยธรรมเสร็จ ขาดลงไป มอบให้แก่พระภิกษุ พระภิกษุรับ เป็นสิทธิใช้ได้บริโภคได้ ให้เด็กให้เล็ก ให้ใครก็ได้ เป็นสิทธิ์ของผู้รับ ขาดจากสิทธิ์ของผู้ให้ขณะใด ขณะนั้นแหละ ปุญฺญาภิสนฺทา บุญไหลมาจากสายธาตุสายธรรม  ของตัวเองโดยอัตโนมัติ เข้าสู่อัตโนมัติ คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ในกลางกายมนุษย์นี้ กลางดวงนั่นแหละ เป็นที่ตั้งของบุญ บุญไหลมาติดอยู่กลางดวงนั้นเมื่อต้องภัยได้ทุกข์อะไร จรดอยู่ดวงบุญนั้น ให้ดวงบุญนั้นช่วย อย่าไปนึกถึงสิ่งอื่นนะ นึกถึงบุญกุศลที่ตนกระทำนั้นแหละ เป็นที่พึ่งของตัวจริง ช่วยตัวได้จริงๆ. BBที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑๔ – ๒๑๕ (กัณฑ์ที่ ๖ สังคหวัตถุ  (๒๐ กันยายน ๒๔๙๖)

ศาสนาพุทธ อยู่ได้ด้วยการให้

ศาสนาพุทธนี้ อยู่ได้ด้วยการให้ ถ้าเลิกให้กันเสียสักเดือนเดียว ข้าวปลาอาหารไม่ให้กันละ หยุดกันหมดทั้งประเทศ ทุกบ้านทุกเรือนไม่ให้กันละ ศาสนาดับ พระเณรสึกหมด หายหมดไม่เหลือเลย นี่เพราะอะไร เพราะการให้นี่เองการให้นี่สำคัญนัก เพราะทุกคนอยู่ได้ด้วยการให้ทั้งนั้น ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราว่า ให้โภชนาหารอิ่มเดียว ได้ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ เป็นที่ปรารถนาของคนทั้งหลาย. BBBที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑๑ (กัณฑ์ที่ ๖ สังคหวัตถุ  (๒๐ กันยายน ๒๔๙๖)

การบริจาคทาน

การบริจาคทาน ถ้าถูกทักขิไณยบุคคล ก็เป็นผลยิ่งใหญ่ไพศาล ถ้าไม่ถูกทักขิไณยบุคคลแล้ว ผลนั้นก็ทรามต่ำลง ก็ผลนั้นรุนแรงสูงขึ้น มีกำลังกล้าขึ้นทักขิไณยบุคคลนั่นแหละ เป็นบุคคลซึ่งควรทาน ทานสมบัติเป็นเครื่องเจริญผลพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เมื่อมีพระชนม์อยู่ ก็มีการให้อย่างนี้ จึงเจริญรุ่งเรืองอยู่ได้ ถ้าปราศจากการให้อย่างนี้แล้ว เจริญรุ่งเรืองอยู่ไม่ได้ เมื่อให้ความเจริญแก่พระพุทธศาสนาแล้ว ความเจริญก็หันเข้าสู่ตัวไม่ต้องไปสงสัย ได้ชื่อว่าให้ความเจริญแก่ตัวนั่นเองทีหลัง.ที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๐๖, ๒๑๓ (กัณฑ์ที่ ๖ สังคหวัตถุ  (๒๐ กันยายน ๒๔๙๖)

พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ

เราเป็นพุทธศาสนิกชน หญิงก็ดีชายก็ดี เมื่อเราจะแสวงหาบุญกุศลในทางพระพุทธศาสนา จะบำเพ็ญในโลกกับเขา ถ้าไม่พบพระพุทธศาสนาไม่พบพระสงฆ์แล้ว เสียคราวเสียสมัยที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ถ้าว่าพบพระพุทธศาสนาพบพระสงฆ์เข้าแล้ว บุญลาภอันล้ำเลิศ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ทีเดียวพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ ต้องการบุญเท่าไหร่ ก็โกยเอาซิ ตวงเอาซิ ตามความปรารถนา ปฏิบัติวัตรฐากเข้าซิ จะได้บุญยิ่งใหญ่ไพศาล.ที่มา,หน้า ๓๓๔ บ.๔ (กัณฑ์ที่ ๒๔ เกณิยานุโมทนาคาถา ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)

บริจาคทานในพระพุทธศาสนา ให้เป็นกลาง (สังฆทาน)

อุบาสกอุบาสิกา บริจาคทานในพระพุทธศาสนา ให้ให้เป็นกลาง ไม่ค่อนข้างตนและหมู่ตนพวกตน ให้ให้เป็นกลางอย่างนั้น ได้ชื่อว่าบริจาคทานถูกทางสงฆ์ ถูกประมุขของบุญทีเดียว ถูกเป้าหมายของบุญทีเดียวถ้าต้องการบุญ ก็ถวายในพระสงฆ์ ไม่เจาะจงภิกษุองค์หนึ่งองค์ใด มั่นหมายไปในหมู่พระสงฆ์ทีเดียว จะมีข้าวถ้วยปลาตัวก็ช่าง มีสิ่งอันใดก็ช่าง ก็ถวายพระสงฆ์ ให้ใจตรงเป้าเป็นกลาง ให้ทำดังนี้จะถูกบุญใหญ่ในพระพุทธศาสนา.ที่มา,หน้า ๓๒๘ (กัณฑ์ที่ ๒๔ เกณิยานุโมทนาคาถา ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)

ทาน คือ การให้

“ทาน”การให้นี่เป็นนโยบายของบัณฑิตทั้งหลาย แต่ไหนแต่ไรมา คนมีปัญญาแล้วก็ต้องให้ทาน ถ้าคนโง่แล้วเห็นว่าสิ้นหมดไป ถ้าว่าคนมีปัญญาแล้วเห็นว่ายิ่งให้ยิ่งมียกใหญ่การให้นั้นแหละเป็นข้อสำคัญนัก ไม่ต้องไปขอร้องใคร ทำอะไรสำเร็จหมดด้วยการให้ แต่ว่าต้องฉลาดให้ ถ้าโง่ให้ยิ่งจนใหญ่ ถ้าฉลาดให้ยิ่งให้ยิ่งรวยใหญ่ ฉะนั้นการให้ ถ้าอยากมีสมบัติยิ่งใหญ่มหาศาลละก็ต้องอุตส่าห์บำเพ็ญทาน บริจาคทานนี้ได้ชื่อว่า “ทานญฺจ” ทานคือการให้.ที่มา,หน้า ๗๓๖/๗๓๗/๗๓๘ บรรทัดที่ ๑๕/๑๓/๙  (กัณฑ์ที่๕๗ สังคหวัตถุ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)

การรักษาดวงบุญ

เมื่อเราได้บุญแล้ว เราจะทำอย่างไร เราจะรักษาบุญอย่างไร เพราะเราไม่เห็นบุญ…เราต้องเอาใจไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของเรา ทำใจให้หยุดให้นิ่ง บังคับใจให้หยุดให้นิ่งว่าบุญของเรามีอยู่ตรงนี้ ถ้าพอใจหยุดได้แล้วและถูกส่วนเข้าแล้วเราจะเห็นดวงบุญของเรา…เห็นชัดเจนทีเดียว ถ้าเราไปเห็นดวงบุญเช่นนั้น เราจะปลาบปลื้มใจสักเพียงใด ย่อมดีอกดีใจเป็นที่สุด…จะหาเครื่องเปรียบเทียบไม่ได้เลย.ที่มา,หน้า ๔๐๔ บรรทัดที่ ๑๑-๑๕  (กัณฑ์ที่๓๐ ภัตตานุโมทนากถา ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)

การทำบุญเลี้ยงพระ

การทำบุญเลี้ยงพระเช่นนี้ถูกต้องตำรับ ตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะพระองค์ทรงรับสั่งไว้ว่า “ โภชนํ ภิกฺขเว ททมาโน ทายโก” ทายกผู้ให้ทานโภชนาหาร “ ปฏิคฺคาหกานํ ปญฺจ  ฐานานิ เทติ”  ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ประการแก่ปฏิคาหก“ กตมานิ ปญฺจ ฐานานิ” ฐานะ ๕ประการเป็นไฉน“อายํ เทติ” ชื่อว่าให้อายุประการหนึ่ง“วณฺณํ เทติ” ชื่อว่าให้วรรณะปประการหนึ่ง“สุขํ เทติ” ชื่อว่าให้ความสุขประการหนึ่ง“พลํ เทติ” ชื่อว่าให้กำลังประการหนึ่ง“ปฏิภาณํ เทติ” ชื่อว่าให้ความเฉลียวฉลาดประการหนึ่ง…ที่มา,หน้า ๔๐๓ บรรทัดที่ ๒๕-๒๘ หน้า๔๐๔ บ,๑-๓ (กัณฑ์ที่๓๐ ภัตตานุโมทนากถา ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)