คุณธรรม
สารบัญ
วัตรปฏิบัติ
วัตรปฏิบัติประจำของหลวงปู่
กิจวัตรประจำวัน
ภารกิจของหลวงปู่มีมาก ท่านแทบไม่ได้พักผ่อน ตามปกติหลวงปู่ตื่นประมาณตี 3 ตี 4 ตื่นแล้วนั่งสมาธิ จากนั้นท่านจะเดินรอบวัด โดยมีลุงประยูรสุนทรา เดินตาม พอตีระฆังหกโมงเช้า เป็นสัญญาณว่าได้เวลาฉันภัตตาหารเช้า ท่านจะมาถึงโรงฉันก่อนเป็นรูปแรกเสมอ ท่านจะมานั่งรอที่วงฉัน พอท้องฟ้า สว่างพระภิกษุสามเณรก็จะทยอยกันมา ทุกรูปต้องมาฉันรวมกันที่โรงฉัน ไม่มีการนำภัตตาหารไปฉันที่กุฏิเมื่อมีเจ้าภาพมาถวายภัตตาหาร แม้เพียงคนเดียว ท่านก็จะเทศน์เรื่องเกี่ยวกับอานิสงส์การให้ทาน ท่านบอกว่าผู้บริจาคจะได้บุญมาก ช่วงสุดท้ายของการเทศน์ ท่านจะสอนให้ทำใจหยุดนิ่ง แล้วท่านจะคำนวณบุญให้ว่าเจ้าภาพที่มาทำบุญได้บุญแค่ไหน โยมฟังแล้วก็มีทั้งเข้าใจและไม่เข้าใจ แต่ก็ปลื้มปีติทุกคน เมื่อหลวงปู่เทศน์จบแล้ว เจ้าภาพจะถวายไตรจีวร เมื่อท่านเปลี่ยนไตรและ สรงน้ำเสร็จ เจ้าภาพจะเอาน้ำที่เหลือไปลูบหัว เพราะถือกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
ถ้าวันไหนมีภัตตาหารมาก ท่านก็จะตักฉันอย่างละคำ ที่เหลือจะมีญาติโยมรอตักกัน ใครๆก็อยากรับประทานอาหารที่เหลือจากหลวงปู่ทั้งนั้น ภัตตาหารที่ฉันไม่หมด ท่านจะสั่งให้ไวยาวัจกรเป็นผู้รับผิดชอบ เมื่อฉันเสร็จ หลวงปู่จะเดินนำออกจากโรงฉัน มีพระภิกษุสามเณรเดินตามท่านออกมาอย่างเป็นระเบียบเพื่อไปที่โบสถ์ ท่านจะนำสวดมนต์ทำวัตรเช้า เมื่อทำวัตรเสร็จก็จะให้โอวาทแก่พระภิกษุสามเณรประมาณครึ่งชั่วโมง เมื่อให้โอวาทแล้วจะมีการนั่งภาวนาสักครู่ หลวงปู่จะให้มีการเช็คชื่อขานชื่อในโบสถ์ด้วย ใครไม่มาก็ต้องมีการลาล่วงหน้า
พอถึง 8.00 น. ก็ออกจากโบสถ์ ถ้ามีแขกท่านก็รับแขก ถ้าไม่มีท่านก็เข้าที่ทำสมาธิจนถึงเวลาประมาณ 10.30 น. ถ้ามีแขกท่านก็จะออกมารับแขกถ้าไม่มีจะทำสมาธิต่อถึง 11.00 น.
ฉันเพลเสร็จ ประมาณ 12.30 น. ก็จะเข้าปฏิบัติต่อ ท่านจะรับแขกเป็นเวลา ประมาณ 14.00 น.ท่านจะลงรับแขกที่ศาลา พอ 17.00 น. ท่านจะออกมาตรวจในโรงงานทำวิชชา ทุกคนที่ทำวิชชาต้องเข้าหมดทุกคน หลวงปู่จะอบรมสั่งสอน ท่านมีระเบียบมาก ใครออกมาข้างนอกให้รีบๆ ไม่ให้คุย ออกมานานไม่ได้ต้องดิ่งธรรมะ ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ให้อยู่ในวิชชาอย่างเดียว
พอ 19.00 น. ท่านจะอบรมอีกครั้งหนึ่ง แต่ในสมัยที่ใช้โบสถ์เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมนั้น เวลา 19.00 น. หลวงปู่จะลงสอนสมาธิให้พระภิกษุสามเณร และญาติโยมในโบสถ์หลวงปู่จะลงเทศน์ให้พระภิกษุสามเณรในโบสถ์ทุกวันหลังทำวัตรเช้าส่วนแม่ชีท่านจะจัดเวลาอบรมให้ในวันอาทิตย์และวันพระ วันอาทิตย์ท่านจะให้รับศีล 5 วันพระจะให้รับศีล 8
วันพฤหัสบดี เวลา 14.00 น. ท่านจะลงสอนการปฏิบัติธรรมสำหรับฤดูเข้าพรรษาจะมีคนมามาก ต้องมีเทศน์ทุกวันเวลาท่านลงเทศน์ ถ้าวันไหนมีพระลงน้อย ท่านก็จะบอกว่าวันนี้พระแพ้ชี แล้วท่านก็จะไม่เทศน์ด้วยพระก็จะต้องรีบวิ่งไปตามพระมาจนเต็มโบสถ์ เวลาเทศน์ถ้าใครตะบันหมากท่านก็จะหยุดเทศน์ รอให้ตะบันเสร็จก่อน และถ้าใครทำเสียงดังรบกวน ท่านจะบอกว่า “เดี๋ยวหูหนวกนะ รบกวนคนกำลังปฏิบัติธรรม”นอกจากนี้ เวลาเทศน์ท่านรู้หมดว่าลูกศิษย์ของท่านกำลังคิดอะไรอยู่ ท่านก็จะเทศน์แทงใจไปเลยคนๆ นั้นก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง
ทำวัตรสวดมนต์
หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเป็นแบบอย่างในด้านการปฏิบัติกิจวัตรของสมณะได้อย่างดีเยี่ยม คือท่านทำวัตรสวดมนต์เป็นประจำมิได้ขาดตั้งแต่แรกอุปสมบท เมื่อเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำแล้ว ท่านก็นำพระภิกษุสามเณรลงทำวัตรสวดมนต์ที่อุโบสถพร้อมกันทุกวัน ทั้งเช้าและเย็น พร้อมทั้งให้โอวาทเพื่อเตือนสติ และอบรมให้ฝึกหัดขัดเกลาตนเองอยู่ในพระธรรมวินัยด้วยความบริสุทธิ์บริบูรณ์การทำวัตรสวดมนต์ถือเป็นการดำรงพระศาสนาให้ตั้งมั่นอยู่ได้นานประการหนึ่ง เพราะเป็นการรักษาพระสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ให้อันตรธานไปด้วยปริยัติอันตรธาน ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา และความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของพระภิกษุสงฆ์อีกด้วยดังคำกล่าวที่ว่า
“วัดใดยังมีเสียงสวดมนต์ทำวัตรอยู่มิได้ขาด วัดนั้นยังจะเจริญรุ่งเรืองเป็นที่พึ่งของชาวโลกอีกยาวนาน”
เพราะการสวดมนต์นั้นเป็นการทบทวนและใส่ใจให้ความสำคัญกับพุทธวจนะ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัติก็ชื่อว่ายังบริบูรณ์อยู่เพียงนั้น”
สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์
หลวงปู่ท่านมีความสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์เป็นที่สุด ท่านกล่าวว่า
“ขึ้นชื่อว่าโทษแล้วเท่าปลายผม ปลายขน ไม่ให้กระเซ็นถูกทีเดียว อุปมาดุจว่าอุจจาระของเหม็นเท่าปลายผม ปลายขนกระเซ็นถูกเข้า ก็รู้สึกว่าเหม็นสกปรก พระภิกษุสามเณรต้องประพฤติอยู่ในกรอบพระวินัย ไม่ให้เลยเถิดออกไปนอกกรอบ”
ท่านเปรียบเทียบว่าเหมือนน้ำในมหาสมุทร มีมากน้อยเท่าไรก็ไม่ล้นฝังทุกกึ่งเดือนท่านลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์พร้อมกับพระภิกษุทั้งวัดมิได้ขาด โดยเฉพาะสิกขาบทที่เกี่ยวกับสตรีท่านจะระวังเป็นพิเศษ แม้จะมีอุบาสิกาเรียนกรรมฐานมาก ท่านก็ระวังเรื่องที่ลับที่แจ้ง ใครไปมาหาสู่มีภิกษุสามเณรอยู่ด้วยเสมอ มิฉะนั้นก็มีไวยาวัจกรหรือผู้ที่มาปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยห้องจำวัดของท่านมีพระภิกษุประจำอยู่ใกล้ๆ
ในวัดปากน้ำนั้น อุบาสิกาอยู่เขตหนึ่งต่างหาก มีรั้วกั้น ห้องหนึ่งๆ มีหลายคน มีหัวหน้าควบคุมดูแลภิกษุสามเณร อุบาสิกาห้ามติดต่อไปมาหาสู่กัน ถ้ามีกิจจำเป็นต้องติดต่อขออนุญาตและต้องมีเพื่อนไปด้วยเสมอ
ปลงอาบัติ
หลวงปู่จะชี้แจงก่อนนั่งสมาธิเจริญภาวนาทุกครั้งว่า
“การทำภาวนาจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องมีจิตใจและอารมณ์ปลอดโปร่ง ปราศจากเครื่องกังวลใดๆ เพราะถ้าหากมีความกังวลมากนักจะทำให้สมาธิไม่แน่วแน่ ฉะนั้นถ้ามีความตั้งใจว่าจะทำสมาธิแล้ว ก็พึงละความกังวลใหญ่น้อยทั้งปวงเสียให้สิ้น”
เรื่องการตัดความกังวลนี้ ท่านได้ สอนพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ประพฤติตัวให้สะอาดบริสุทธิ์ ให้ถือตำรับตำราพระอริยบุคคลเป็นเนติแบบแผน หลวงปู่ท่านอธิบายว่า “กิจของพระอริยบุคคล คือ เป็นผู้อาจหาญในการสร้างความดี ซื่อตรง ว่านอน สอนง่าย อ่อนละไม ไม่มีอติมานะสันโดษเลี้ยงง่าย มีธุระน้อย ประพฤติเบากายเบาใจ สงบ มีปัญญา ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุล”การตัดความกังวลเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ของศีลนั้น หลวงปู่ท่านปฏิบัติเป็นประจำมิได้ขาดกล่าวคือ ท่านปลงอาบัติเป็นประจำทุกวัน การปลงอาบัติเป็นการชำระศีลให้บริสุทธิ์ พระภิกษุได้ตรึกระลึกถึงสมณสัญญา และเพิ่มความเป็นพระที่สมบูรณ์ให้แก่ผู้ปฏิบัติอีกด้วย หลวงปู่ท่านปลงอาบัติกับพระครูที่ทำหน้าที่อุปัฏฐากท่าน ก่อนอรุณขึ้นเป็นประจำทุกวันมิได้ขาด
ลงฉันพร้อมกับพระภิกษุทั้งวัด
หลวงปู่ท่านดำริให้สร้างโรงครัวขึ้นในวัดปากน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้พระภิกษุสามเณรได้มีเวลาศึกษาพระปริยัติและประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่ หลวงปู่ท่านจะลงฉันด้วยทุกมื้อทั้งเช้า และเพลเป็นประจำหากมิได้มีศาสนกิจจำเป็นที่อื่น เวลาลงฉัน พระภิกษุสามเณรต้องมาโดยพร้อมเพรียงกัน แม้บางรูปอาพาธท่านก็ให้ไปตามมาพร้อมกันจึงลงมือฉัน เวลาฉันท่านจะคอยดูว่าพระภิกษุสามเณรฉันกันอิ่มพร้อมแล้วหรือยัง หากยังไม่เสร็จแม้เป็นสามเณรที่นั่งอยู่ปลายแถว ท่านก็จะยังไม่ละมือจากสำรับภัตตาหาร ต่อเมื่อพร้อมเพรียงกันแล้วท่านจึงละมือจากสำรับ และให้พรพร้อมกันหลวงปู่ท่านกระทำไว้เป็นเนติแบบแผนอย่างนี้
เมื่อพระภิกษุสามเณรฉันภัตตาหารพร้อมเพรียงในที่เดียวกัน จะทำให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กันและกัน สมัครสมานสามัคคีเป็นอันดี จะทำกิจการงานพระศาสนาก็จะร่วมมือร่วมใจกัน ทำให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองมั่นคงอยู่ได้นาน และเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนอีกด้วย ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสก็จะเลื่อมใสผู้ที่เลื่อมใสแล้วก็จะเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป
แม้แต่การโกนผมของพระภิกษุสามเณร และแม่ชี ท่านก็ต้องการให้ปฏิบัติโดยพร้อมเพรียงเหมือนกันหมดในวันเดียวกัน หากใครไม่โกนท่านจะพูดว่า “แม้แต่หัวมันยังไม่สามัคคี แล้วใจจะสามัคคีได้อย่างไร” ท่านมักจะยกนิทานชาดกเรื่องนกกระจาบแตกฝูงมาเล่าให้ฟังเป็นอุทาหรณ์ เวลาอบรมเรื่องความสามัคคีเสมอ
ดูแลความเป็นอยู่ในวัด
หลวงปู่ได้ปฏิญาณในพระอุโบสถว่า “บรรพชิตที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้เป็นสุข” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็มีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษาที่วัดปากน้ำเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ว่าพระภิกษุสามเณรจะมากเพียงใดก็ตาม หลวงปู่ก็ไม่ได้หวั่นไหว กลับมีความปลาบปลื้มใจเสียอีก ไม่มีใครเคยได้ยินท่านบ่น และท้อใจ ยิ่งมากยิ่งดี ท่านพูดว่า “เขามาพึ่งพาอาศัย เราไม่ปฏิเสธ อุปการะเท่าที่มี“ท่านให้ความเมตตาอนุเคราะห์ลูกศิษย์ทุกคน ดูแลความเป็นอยู่ ทุกข์สุขโดยเสมอหน้ากันหมดใครทำดีก็ยกย่อง สรรเสริญให้ปรากฏ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่หมู่คณะ ใครทำผิดก็ว่ากล่าวตักเตือนให้ปรับปรุงแก้ไข เพื่อไม่ให้ใครเอาเยี่ยงอย่างได้ ท่านปกครองพระภิกษุและสามเณร แบบพ่อปกครองลูกท่านกล่าวไว้ว่า “ไม่ว่าพระภิกษุสามเณรองค์หนึ่งองค์ใดจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด เจ้าอาวาส ให้ทั้งสิ้น วัดปากน้ำน่ะ ค่าไฟฟ้าเดือนหนึ่งๆ 2,000 กว่าบาทแล้ว (ราวปี พ.ศ. 2480-พ.ศ.2490) ถึงกระนั้น เจ้าอาวาสก็สนับสนุนทุกเดือนไป ไตรจีวรไม่มีขาย มีแต่ให้เรื่อยไป
วัดปากน้ำนั้นผู้ที่ปกครองเป็นเจ้าอาวาส อยู่น่ะ ได้อะไรมาก็ตามเถิด คิดว่าพระภิกษุสามเณรที่มาอยู่ด้วยกันเหมือนลูกเหมือนเต้า ไม่หวงไม่เสียดายกัน ติดขัดอะไรมาแจกให้ทั้งนั้นไม่ขัด เมื่อเป็นเช่นนี้ภิกษุสามเณรก็สุขสบายอุ่นหนาฝาคั่ง เหมือนอยู่กับพ่อแม่ ลูกเขาเขารักเหมือนแก้วตา ถ้าเขารู้ว่าภิกษุผู้ปกครองเอาใจใส่เหมือนเช่นนั้นละก็ เขาก็เคารพนับถือ”ท่านแจก สมณบริขารจนบางครั้งต้องติดหนี้ผู้ขอก็มี คือ ท่านรับปากว่าจะให้ แต่ตอนนั้นท่านยังไม่มีท่านก็บอกว่าขอติดไว้ก่อน พอมีแล้วจะใช้ให้ ท่านพูดว่า “เขาอยากได้อยากดีเท่าไรให้เขาเสียไม่เปลืองเบี้ยเงินทองของทั้งหลาย”
และยังสอนพระภิกษุสามเณรในวัดอีกว่า “อยู่ที่ไหนก็ให้ทานบริจาคทานเรื่อยไป ไม่ทำอะไรก็ สอนหนังสือหนังหาไป สงเคราะห์อนุเคราะห์กุลบุตร”หลวงปู่จะเดินตรวจตราทั่วบริเวณวัดทุกคืน เพื่อดูว่ามีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้นในยามวิกาลหรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่ฝนตกพรำๆ หลวงปู่บอกว่าผู้ที่ชอบเวลาเช่นนี้มี 2 ประเภท คือ 1. พวกมิจฉาชีพ2. พวกเจ้าชู้
นอกจากนี้หลวงปู่ยังตรวจดูความเรียบร้อยของพระภิกษุสามเณร แม่ชี และผู้ที่อยู่ในความปกครองของท่านทุกคนว่า มีใครแอบหนีเที่ยวนอกวัดหรือมั่วสุมกันหรือไม่ ท่านจะเดินตรวจดูตามห้องพักของพระภิกษุสามเณรทุกห้อง เมื่อเห็นว่าห้องใดมีแสงไฟและมีเสียงท่องหนังสืออยู่ท่านก็พอใจแต่หากห้องใดยังเปิดไฟแต่มีเสียงพูดคุยกัน ท่านจะเคาะประตูเตือนให้ปิดไฟพระครูวิเชียรธรรมโกวิท เจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์ เล่าว่า
“วันหนึ่งขณะหลวงปู่เดินตรวจวัดตามปกติ ผ่านห้องพักของพระภิกษุห้องหนึ่ง ในห้องมีพระภิกษุอยู่ 2 รูป มีแสงไฟลอดออกมาและมีเสียงคุยกันแว่วๆ” หลวงปู่ก็เคาะประตูเพื่อจะเตือนให้พักผ่อน มีเสียงตะโกนตอบออกมาจากในห้องว่า”ไปข้างหน้าก่อนเถอะ แล้วพรุ่งนี้จะแผ่ส่วนกุศลไปให้” หลวงปู่ได้ยินก็ไม่ได้ตอบอะไร แล้วก็เดินตรวจต่อไปรุ่งเช้าหลังจากพระภิกษุสามเณรสวดมนต์ทำวัตรเช้าเสร็จแล้ว หลวงปู่จะให้โอวาททุกวัน ท่านจะนำสิ่งที่ท่านพบจากการตรวจวัดในตอนกลางคืนมาพูดในตอนนี้ เช้าวันนั้นท่านพูดว่า “เออ พระเดี๋ยวนี้เขาแผ่ส่วนบุญกันเก่งๆ นะ อุปัชฌาย์อาจารย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เขาก็แผ่ให้ไม่ละเว้น” นอกจากในบางครั้งที่มีผู้ทำความผิดร้ายแรง หลวงปู่จะเรียกมาพูดเป็นการส่วนตัว ไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้และสั่งให้ออกจากวัดไป ดังนั้นหากครั้งใดที่มีผู้หายจากวัดไปอย่างเงียบๆ ก็เป็นที่รู้กันว่า ผู้นั้นคงจะประพฤติผิดร้ายแรงจนหลวงปู่สั่งให้ออกจากวัดไปหลวงปู่จะเปลี่ยนวิธีการตรวจวัดไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ผู้ใดตามทัน เช่น บางคืนท่านจะยืนซุ่มบนหอพระไตรปิฎก บางคืนท่านจะไม่ครองจีวร วมเพียงอังสะ ยืนแอบอยู่ตามมุมมืดๆ ถือบุหรี่เห็นแต่ไฟแดงๆ เพื่อว่าพระที่จะหนีออกไปข้างนอกจะได้ไม่รู้ว่าเป็นหลวงปู่ เพราะตามปกติหลวงปู่จะครองผ้าจีวรเรียบร้อยและไม่สูบบุหรี่ อย่างเช่น มีสามเณรกลุ่มหนึ่งมักจะหนีไปดูหนังเป็นประจำ โดยคิดว่าหลวงปู่ไม่รู้
สามเณรกลุ่มนี้มีรูปหนึ่งชื่อ สมจิตร ฉ่ำรัศมี ยังสูบบุหรี่อยู่ คืนหนึ่งได้หนีไปดูหนังอีกเช่นเคย แต่คืนนี้สามเณรรูปนั้นไม่มีไม้ขีดและไฟแช็กติดไปด้วย ทั้งๆ ที่ทุกครั้งจะมีติดไป เมื่อมองไปข้างโบสถ์ เห็นแสงไฟวาบๆคิดว่ามีพระมาแอบสูบบุหรี่ จึงรีบเข้าไปขอต่อบุหรี่พอไปถึงพบว่าหลวงปู่ยืนถือไม้อยู่ ท่านบอกว่า ท่านรู้ทันว่าสามเณรกลุ่มนี้หนีไปดูหนังเป็นประจำไม่ยอมอ่านหนังสือ แล้วให้ไปตามเพื่อนมา รูปที่ยอมรับผิดท่านบอกว่าจะไม่ตี แต่ถ้าไม่รับผิดท่านจะตี และชี้ไปทางสามเณรรูปที่ขอต่อบุหรี่ว่า เป็นคนยุเพื่อนไปในทางที่ไม่ดีสามเณรรูปนั้นกลัวโดนตีจึงบอกหลวงปู่ว่า”หลวงพ่ออย่าตีผม” หลวงปู่ท่านไม่คิดจะตีอยู่แล้ว แต่ที่ถือไม้เพราะเป็นกุศโลบายเท่านั้น เมื่อสามเณรบอกอย่างนี้ท่านจึงตอบว่า ท่านจะไม่ตี แต่ต่อไปทุกรูปต้องตั้งใจเรียนให้ดี ตั้งแต่นั้นมาสามเณรรูปนั้นก็ตั้งใจ
ปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงวิชชาธรรมกาย
คืนหนึ่ง หลวงปู่พบสามเณรทาแป้งลายพร้อย ดูแล้วไม่เหมาะแก่เพศนักบวช ท่านจึงเรียกมาถามสามเณรตอบว่า ทาแป้งเพื่อรักษาสิว ท่านได้ตักเตือนไม่ให้ทำอย่างนี้อีกอีกคืนหนึ่ง หลวงปู่เดินผ่านที่พักของแม่ชี แม่ชีคนหนึ่งมีเพื่อนที่เป็นฆราวาส มาขอพักอยู่ด้วยเพื่อมารักษาศีล ในขณะนั้นดึกแล้วแต่ในห้องยังเปิดไฟอยู่ ท่านมองเข้าไปในห้อง เห็นแม่ชีผู้นั้นกำลังเอาเสื้อของเพื่อนที่เป็นฆราวาส มาลองสวม ยืนมองกระจกแล้วหัวเราะกันอย่าง สนุกสนาน ท่านจึงหยิบก้อนอิฐปาเข้าไปในห้อง เพื่อเป็นการเตือน 3 ก้อนติดๆ กัน แม่ชีคนนั้นออกไปดูแต่ก็ไม่เห็นใคร เลยร้องขึ้นว่า “ใครขว้าง กูไม่ได้ทำอะไรสักหน่อย ขว้างเข้ามาทำไม กูจะฟ้องหลวงพ่อ” รุ่งขึ้นแม่ชีคนนั้นก็มาเล่าเรื่องตอนกลางคืนให้หลวงปู่ฟัง เพื่อหวังจะให้ท่านหาคนปาก้อนอิฐมาลงโทษหลวงปู่ก็ถามว่า “ตอนนั้นกำลังทำอะไรอยู่ ดึกดื่นแล้วทำไมไม่ปิดไฟนอน” แม่ชีคนนั้นก็ไม่กล้าตอบตรงๆ กลัวหลวงปู่จะดุเอา จึงพูดเลี่ยงไปเลี่ยงมา หลังจากท่านซักไซ้ไล่เลียงแล้ว ก็บอกว่า ท่านเองที่เป็นคนปาก้อนอิฐเข้าไป แล้วจึงอบรมสั่งสอนเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ที่หลวงปู่จะทราบความประพฤติของทุกคน หากท่านต้องการรู้ ท่านจะรู้ว่าใครพูดจริงหรือเท็จกับท่าน ท่านจะสอนให้ทุกคนกล้าพูดความจริง หากพูดความจริงกับท่าน ท่านจะช่วยแก้ปัญหาให้ได้อย่างถูกต้อง ท่านเคยบอกว่า “มีอะไรก็พูดออกมา ไม่ต้องปิดบัง หลวงพ่อรู้หมดทุกอย่างเพราะมีสมุดพก” ดังนั้นจึงไม่มีใครสามารถปิดบังอะไรท่านได้
เทศนาสั่งสอนธรรม
หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญประโยชน์ครบทั้ง 2 ประการ คือ ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ประโยชน์ตนนั้นท่านทุ่มเทกับการปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุธรรมส่วนประโยชน์ท่านนั้นท่านได้เทศนาสั่งสอนจนมีผู้ปฏิบัติแล้วบรรลุตาม เป็นพยานในการบรรลุธรรมของท่านด้วย หลวงปู่เอาจริงเอาจังกับการสอนวิชชาธรรมกายมาก ท่านเน้นสอนให้ฝึกปฏิบัติเจริญสมาธิภาวนาเป็นหลัก เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง ให้คุ้มค่ากับเวลาที่มานั่งทำภาวนากันสำหรับพระภิกษุสามเณรท่านจะสอนหลังจากทำวัตรเย็นและให้โอวาทเสร็จแล้ว ท่านจะควบคุมให้ทุกรูปนั่งเจริญภาวนาทุกๆวัน ส่วนแม่ชีจะแยกย้ายกันไปปฏิบัติ เช่น ที่ศาลาการเปรียญ เป็นต้น
นอกจากนี้ ในวันพฤหัสบดี เวลาบ่าย 2 โมง หลวงปู่จะลง อนการปฏิบัติกรรมฐานที่ศาลาการเปรียญมีพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทั้งในวัดและนอกวัดมาฝึกสมาธิกันเป็นจำนวนมากทุกครั้งมีพระภิกษุจากต่างประเทศ เช่น หรัฐอเมริกา อังกฤษ ลาว และเขมร เป็นต้น มาศึกษาด้วย พระทิพย์ปริญญาได้บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. 2489 ว่า “มีผู้ไปเรียนกันมาก แต่ต้นจนบัดนี้ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นคน เพราะสอนมามากกว่า 15 ปีแล้ว”
พระธรรมเทศนาที่หลวงปู่นำมาแสดงนั้น ท่านค้นมาจากพระไตรปิฎก ท่านจะแสดงหลักฐานที่มาอย่างชัดเจน มีการยกพระบาลีแปลเป็นข้อๆ แล้วจึงขยายความสู่การปฏิบัติ ซึ่งพระธรรมทัศนาธร อดีตเจ้าอาวาส วัดชนะสงคราม ได้เล่าถึงความรู้ด้านปริยัติธรรมของหลวงปู่ไว้ว่า”ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม มีความรู้ นับว่าเชี่ยวชาญพอสมควรในพระปริยัติ ถ้าหากจะเข้าแปลภาษาบาลีในยุคนั้น ก็คงจะได้เป็นมหาเปรียญกับเขาบ้าง แต่ท่านก็หาได้แปลไม่ เพราะมีความมุ่งหมายเล่าเรียนเพื่อจะให้เป็นนิสสรณปริยัติ คือ เป็นปริยัติที่จะนำตนของตนให้พ้นทุกข์ หรือเพื่อที่จะแนะนำสั่งสอนประชาชน หรือเพื่อที่จะเป็นแนวทางให้ประพฤติปฏิบัติให้ถูกทาง ท่านไม่ปรารถนาที่จะใช้ความรู้ของท่านเพื่อใบประกาศนียบัตร หรือเพื่อลาภยศอันใด แต่ก็เคยได้ศึกษาถ้าจะเปรียบความรู้ของท่าน ท่านได้ศึกษาในชั้นเปรียญ 3 ประโยค 4 ประโยค และ 5 ประโยค
เมื่อท่านได้ศึกษามีความรู้อย่างดีแล้ว ท่านก็สะสมวิชาทางวิปัสนา”คำกล่าวของพระธรรมทัศนาธร ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า หลวงปู่ท่านมีความรู้ทางปริยัติเทียบได้กับพระมหาเปรียญเลยทีเดียวอีกคราวหนึ่ง คือ เมื่อพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตโต) มาอาราธนาให้หลวงปู่ไปแสดงธรรมที่พระอุโบสถ วัดมหาธาตุ ในหัวข้อเรื่อง “กัมมัฏฐาน”2 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2490
ในวันนั้นมีพระภิกษุสามเณรมาฟังกันเป็นจำนวนมาก จนอาสนะไม่พอนั่ง ต้องลงมานั่งที่พื้นพระอุโบสถ และยังมีอุบาสก อุบาสิกาอีกเป็นจำนวนมากมาร่วมฟังด้วย เมื่อหลวงปู่แสดงพระธรรมเทศนาจบ ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมได้ชมเชยต่อหน้าผู้ฟังว่าเทศน์ได้ดีมาก หลังจากนั้นท่านเจ้าคุณยังได้อาราธนาหลวงปู่ให้ไป สอนการเจริญภาวนาที่วัดมหาธาตุอีกหลายครั้ง
แก้ไขทุกข์มนุษย์
หลวงปู่ท่านทุ่มเทให้กับการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง เวลาโดยมากของท่านอยู่กับการเจริญจิตภาวนาท่านจึงออกรับแขกเป็นเวลา ตอนเพลครั้งหนึ่ง และเวลา 5 โมงเย็นอีกหนหนึ่ง ท่านมีจิตเมตตาช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่เลือกหน้า และไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ทุกคนที่มาหาท่าน ท่านต้อนรับอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร เป็นสามัญชนธรรมดา หรือมียศถาบรรดาศักดิ์ยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม ปกติเวลาท่านออกรับแขกนั้น ท่านจะนั่งบนเก้าอี้เพียงองค์เดียว แขกทุกคนนั่งกับพื้นเสมอกันหมด ผู้ใดจะทำบุญถวายจตุปัจจัยหรือสิ่งของใดๆ แก่ท่าน หรือไม่ทำเลย ท่านก็มิได้ติดใจ ท่านสั่งสอนผู้ที่ได้วิชชาธรรมกายให้ช่วยเหลือทุกคนโดยไม่หวังในลาภสักการะ เพียงมีอาหารยังชีพเป็นมื้อๆ เพื่อการปฏิบัติกิจภาวนาก็เพียงพอแล้ว ท่านถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้ธรรมกายทุกคน จะต้องแก้ไขความทุกข์ยากของทุกๆ คนที่มาหา ให้ต้อนรับด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ให้แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือรังเกียจให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง อดทน
บางคนพูดเรื่องไร้สาระ บางคนพูดแต่เอาประโยชน์ตน แต่หลวงปู่ก็จะรับฟัง ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ว่ากล่าวอะไร ไม่ว่าใครจะนำเรื่องใดมาปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือ ท่านจะให้ผู้นั้น นั่งสมาธิภาวนาไป ส่วนท่านหรือผู้ที่ได้ธรรมกายที่ท่านสั่งให้ช่วยแก้ไขก็ทำหน้าที่ไป แล้วท่านก็ช่วยแก้ไขให้ และแนะนำข้อประพฤติปฏิบัติให้ได้คลายจากทุกข์ มีความสุขด้วยกันทุกคน
ทำวิชชา
เป็นที่ทราบกันดีว่า หลวงปู่ท่านมีความมุ่งมั่นในการเจริญภาวนาเป็นที่สุด จะเห็นได้จากกิจวัตรประจำวันของท่าน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมแทบทั้งสิ้น และที่สำคัญประการหนึ่ง คือท่านไม่ชอบออกไปนอกวัด เพราะเกรงจะเสียเวลาในการทำวิชชา หากสุดวิสัยจำเป็นต้องออกไป ท่านก็จะรีบกลับ โดยไม่ยอมไปค้างคืนที่อื่นเลยนับแต่เป็นเจ้าอาวาส วัดปากน้ำคำว่า “ทำวิชชา” ในที่นี้อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยสำหรับบางท่าน และการจะอธิบายว่าการทำวิชชาคืออะไรนั้น ก็เป็นเรื่องค่อนข้างยากและก็ยากต่อการทำความเข้าใจเช่นกัน เพราะเหตุที่เป็นเรื่องลึกซึ้งละเอียดอ่อน ผู้ที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดี
ก็คือ ผู้ที่ได้ธรรมกายแล้ว และเคยมีประสบการณ์ในการทำวิชชามาก่อน
ซึ่งในสมัยนั้นผู้ที่ทำวิชชาได้ก็มีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกันเท่าที่ประมวลจากเรื่องราวการทำวิชชาใน สมัยหลวงปู่วัดปากน้ำ พอจะกล่าวเพื่อความเข้าใจในระดับเบื้องต้นได้ว่า การทำวิชชา คือ การทำงานทางจิตชนิดหนึ่งของผู้ที่ได้ธรรมกายแล้ว โดยที่การทำงานชนิดนี้มีลักษณะของการศึกษาและค้นคว้าทางจิตไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีครูผู้เชี่ยวชาญคือ หลวงปู่คอยควบคุมดูแลอยู่ด้วย เทียบกับในยุคนี้ก็ดูคล้ายๆ กับศาสตราจารย์ด้านใดด้านหนึ่งนำคณะทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการในสาขาวิชาที่ตนเชี่ยวชาญฉะนั้นสถานที่ที่ใช้ทำวิชชาหรือที่เรียกว่า “โรงงานทำวิชชา”
ในสมัยนั้นเป็นกุฏิหลังใหญ่ เป็นเรือนไม้ล้อมรั้วด้วยสังกะสีมีเพิงออกไป สองข้าง มีแผงกั้นเป็น สองส่วน คือส่วนหนึ่งของพระ มีห้องของหลวงปู่อยู่ตรงกลาง เป็นม่านกั้นไว้ และอีกส่วนหนึ่งของแม่ชี ทั้ง สองฝ่ายไม่เห็นหน้าและไม่รู้จักกัน จะได้ยินแต่เสียงของหลวงปู่สั่งวิชชาผ่านฝากระดานที่กั้นไว้ การเข้ามาในโรงงานทำวิชชานั้น พระขึ้นมาทางด้านหอไตรส่วนแม่ชีขึ้นมาทางวิหาร ทั้ง สองฝ่ายจะไม่พบกันการทำงานในโรงงานทำวิชชา ทั้ง สองฝ่ายต่างก็แบ่งเป็น 2 ผลัด ผลัดแรกเริ่มเข้าที่นั่งสมาธิตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ผลัดที่ สองเริ่มตั้งแต่เที่ยงคืนไปออก 6 โมงเช้า ตอนกลางวัน ผลัดหนึ่งมารับครึ่งวันตอนเช้า ผลัด สองก็มาต่อครึ่งวันตอนเย็น นั่งหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ได้หยุด
ในห้องทำวิชชานั้นจะมีเตียงขาดรู้ เป็นเตียง สี่เหลี่ยมสำหรับผู้นั่งสมาธิแยกออกมาจากคนอื่นๆ คำว่า”ขาดรู้” คือ ขาดจากความรับรู้ของกายมนุษย์ ตัดขาดจากความรู้สึกภายนอก ดิ่งเข้าไปในธรรมะภายในเพียงอย่างเดียว ปล่อยใจเข้าไปสู่ธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง ผู้ที่นั่งสมาธิบนเตียงขาดรู้จะนั่งได้หลายๆ ชั่วโมง ที่เตียงจะมีมุ้งเล็กๆสำหรับกันยุงสำหรับที่นั่งรวมกันจะมีมุ้งหลังใหญ่ ทางฝ่ายพระมีประมาณ 30 รูป ฝ่ายแม่ชีก็มีจำนวนใกล้เคียงกันส่วนผู้ที่ไม่ได้ธรรมกายนั้น หลวงปู่ท่านไม่อนุญาตให้เข้าไปเพราะเกรงว่าจะไปรบกวนสมาธิของผู้ที่กำลังเจริญภาวนา
นอกจากนั้นก็อาจจะเกิดความสงสัยในเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง อันไม่เป็นผลดีใดๆวันที่หลวงปู่เริ่มรวบรวมทีมผู้ได้ธรรมกายเพื่อทำวิชชานั้น คือ วันเข้าพรรษาของปี พ.ศ. 2474 และทำมาตลอดไม่ได้หยุดเลยแม้แต่วันเดียว จนกระทั่งหลวงปู่มรณภาพ รวมระยะเวลาร่วม 28 ปี แสดงให้เห็นว่าท่านเอาจริงเอาจังต่อการศึกษาวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด
วัตรปฏิบัติด้านการประพฤติธรรม
เป็นคนจริง
อุปนิสัยประการหนึ่งที่หลวงปู่วัดปากน้ำมีติดตัวมาตั้งแต่เล็กๆ คือ ความเป็นคนจริง ทำอะไรทำจริงการที่ท่านปฏิบัติจนกระทั่งได้บรรลุธรรมเข้าถึงพระธรรมกาย อันเป็นกายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เพราะท่านมีธาตุของคนจริงอยู่ในเนื้อแท้ของจิตใจใครที่ได้เห็นท่านแม้เพียงลักษณะภายนอก ก็จะต้องชื่นชมในความ สง่างาม พอเห็นเท่านั้นก็เกิดความเคารพรัก อยากจะเข้าใกล้ มีทั้งความเกรงใจ ต้องรีบสำรวมระวัง มีทั้งความเลื่อมใสศรัทธารู้สึกได้ถึงความเมตตา
ขณเดียวกันก็มีความน่าเกรงขามด้วย อุปมาท่านเหมือนกับแม่ทัพนั่งบัญชาการรบ ทั้งเด่น ทั้ง สง่างาม ท่านมองหน้าใครตาไม่กะพริบ พอ สบตาท่านเท่านั้น ราวกับแสงจากลูกนัยน์ตาท่านทะลุเข้าไปในใจ เกิดความสว่างภายในใจ เกิดความมั่นใจ ปลอดภัย และอบอุ่นนอกจากนั้น หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเป็นผู้มีวาทะตรงกับใจ หากเป็นเรื่องจริงแล้วท่านกล้าพูดไม่ได้สะทกสะท้าน และไม่กลัวคำตำหนิติเตียนใดๆ ในหนังสือนิพนธ์ของสมเด็จป๋าตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
“วันหนึ่งพ่อค้าตลาดสำเพ็งเป็นคนมั่งคั่งคนหนึ่งมาถามท่านในเวลาฉันภัตตาหารว่า วันนี้จะมีผู้มาบริจาคสร้างกุฏิ เพื่อเจริญกรรมฐานบ้างไหม ชาวบ้านไม่น้อยกว่า 20 คน ที่นั่งอยู่ในที่นั้น ตั้งใจฟังคำตอบของหลวงปู่ ท่านนั่งนิ่งอยู่ประมาณ 5 นาที แล้วตอบออกไปว่า จะมีผู้บริจาค 23 หลังพอได้เวลาอนุโมทนา ก็มีคณะอุบาสก อุบาสิกาเข้ามากราบหลวงปู่ บอกว่า ศรัทธาจะสร้างกุฏิเพื่อเจริญกรรมฐานอย่างที่หลวงปู่สร้างไว้สัก 23 หลัง ขอให้หลวงปู่จัดการให้ด้วย ท่านไม่ได้หัวเราะยิ้มน้อยๆ พอควรแก่กาล มีผู้ถามท่านว่าพยากรณ์แม่นเหมือนตาเห็น แต่น่ากลัวอันตราย ไม่ควรตอบในเวลานั้นควรบอกเฉพาะตัวหรือ สองต่อสอง ท่านถามว่าอันตรายอย่างไร เขาก็เรียนท่านว่า ถ้าคำพยากรณ์ไม่เป็นจริงชาวบ้านจะเสื่อมศรัทธา ท่านว่า พุทธศาสนาเก๊ได้หรือ ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของจริง ธรรมกายไม่เคยหลอกลวงใคร เมื่อได้ยินดังนั้นก็จำต้องนิ่ง และไม่คิดจะถวายความเห็นอะไรต่อไป ที่นำมาเขียนไว้นี้แสดงว่า ญาณของหลวงปู่ให้ความรู้แก่ท่านอย่างไร ท่านก็ต้องพูดอย่างนั้น ถ้าญาณไม่แสดงออกจะเอาอะไรมาพูดได้” ท่านยังกล่าวถึงการปฏิบัติธรรมไว้อีกว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ หยุดนี่แหละให้มันได้ตรงนี้ซะก่อน อื่นไม่ต้องไปพูดมากนักใหญ่โตมโหฬารพูดหยุดตรงนี้ให้มันตกลงกันเสียก่อน ถ้าไม่หยุดก็เข้าถึงธรรมกายไม่ได้ เราเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ทำกับเขาไม่ได้เชียวหรือ ทำไมจะทำไม่ได้ ทำจริงเข้า ทำไม่จริงต่างหากล่ะมันไม่ได้ จริงล่ะก็ได้ทุกคนจริงแค่ไหน จริงแค่ชีวิตซิ เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหมดไปไม่ว่า เหลือแต่กระดูก หนัง ช่างมัน ถ้าไม่ได้ ไม่ลุกจากที่ นี่จริงแค่นี้ ได้ทุกคน ฉันเอง 2 คราว ไม่ได้ตายเถอะ นิ่ง พอถึงกำหนดเข้าก็ได้ ไม่ได้ตายเถอะ นิ่ง พอถึงกำหนดก็ได้ ไม่ตายซักทีพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รูปนั้น ประกอบความเพียรด้วยจาตุรังคะวิริยะ ด้วยองค์ 4 เหลือแต่กระดูก หนัง ช่างมัน เนื้อ เลือดจะแห้งหมดไปไม่ว่า ประกอบด้วยจาตุรังคะวิริยะเช่นนี้พอถูกส่วนเท่านั้น ในเวลาค่ำได้บรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ เวลายามที่ 2 ได้บรรลุจุตูปปาตญาณเวลายามที่ 3 ได้บรรลุอา วักขยญาณ ท่านจริงอย่างนั้นอาจารย์ของเรา เป็นลูกศิษย์ก็จริงเหมือนกันแหละ ไม่ได้ยอมตาย ไม่หยุดยอมตายกันทีเดียว”
มีความเพียรสม่ำเสมอ
เรื่องความเพียรในการเจริญสมาธิภาวนานั้น หลวงปู่ท่านทำมิได้ขาดเลยจนวันเดียว ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านไม่เคยว่างเว้นจากการทำความเพียรทางจิต เจริญสมาธิภาวนาเลยจนวันเดียวตั้งแต่อุปสมบทมา ท่านถือหลักในการปฏิบัติที่ว่า “ประกอบเหตุสังเกตผล สนใจเถิด ประเสริฐนัก ประกอบในเหตุสังเกตในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐดีนัก ประกอบที่ในเหตุสังเกตดูในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐยิ่งนัก”
หลวงปู่ท่าน สอนว่า การปฏิบัตินั้นต้องให้ถึงที่สุด ไม่ว่าเราจะเห็นหรือไม่เห็นก็ให้ปฏิบัติเรื่อยไปอย่าปล่อยให้กาลเวลาล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านจะเน้นเช่นนั้นเสมอ เพราะความเพียรก็ต้องมีที่สุดของความเพียร ความอดทนก็ต้องมีที่สุดของความอดทน ถ้าเรายังปฏิบัติความเพียรไม่ถึงที่สุดเราก็บอกว่าเราเพียรแล้ว ความอดทนเราก็ยังทำไม่ถึงที่สุด เราก็บอกว่าเราอดทนแล้ว เพราะที่สุดของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เปรียบเหมือนการอ่านหนังสือ บางคนอ่านเพียงหน้าเดียวก็เข้าใจ มีความรู้ทันทีบางคนต้องเปิดอ่านหลายครั้งหลายคราวจึงจะเข้าใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญญาบารมีของแต่ละคนซึ่งมีไม่เท่ากัน
ประพฤติตรงต่อหนทางพระนิพพาน
การเจริญสมาธิภาวนาของหลวงปู่วัดปากน้ำเป็นกิจวัตรประจำ ไม่เคยว่างเว้นเลยนั้น ทำให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อหนทางของพระนิพพานโดยแท้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระภิกษุที่เล่าเรียนศึกษาธรรมแล้ว ปรารภความเพียร เจริญสมาธิภาวนา ชื่อว่าไม่ประมาทในธรรม และอยู่ใกล้พระนิพพาน ดังพุทธพจน์ที่ว่า
“ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีลสำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ และหมั่นประกอบความไม่เห็นแก่นอน เป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งวันทั้งคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นภิกษุยินดีในอัปปมาทธรรม หรือเห็นภัยในความประมาทโดยปกติ ย่อมเป็นผู้ไม่พอที่จะเสื่อม เป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว”
หลวงปู่ท่านยังกล่าวไว้ด้วยว่า
“นั่งภาวนาทำใจให้หยุด ให้หยุดสักกะพริบตาเดียวเท่านั้นที่สร้างโบสถ์สร้างวิหาร ศาลาการเปรียญสู้ไม่ได้หรอก ให้เราแสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนาให้มั่นเชียวนะ ให้ใจหยุดเป็นตัวสำคัญ หยุดนี้เป็นทางมรรคผลนิพพาน พวกให้ทาน รักษาศีลยังไกลกว่า หยุดนี้ใกล้นิพพานนัก”
อธิศีล
หลวงปู่เป็นพระที่รักษาศีลอย่างเคร่งครัด และถูกต้องตามพระธรรมวินัย ท่านมีความปรารถนาดีกับพระภิกษุสามเณร แม่ชี ทุกรูปทุกคน ต้องการให้รักษาศีลได้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างท่าน เรื่องเงินเรื่องทอง ท่านไม่เคยจับเลย ท่านจะให้ไวยาวัจกรคอยดูแลเรื่องนี้แทน มีไวยาวัจกรประจำวัดคนหนึ่งชื่อลุงประยูรสุนทารา ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการเงิน ทำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกประเภทของวัด รวมทั้งดูแลรักษาสิ่งของทุกชนิดที่มีผู้นำมาถวายหลวงปู่และถวายเป็นสมบัติของวัด ลุงประยูรทำหน้าที่นี้จนชรามากจึงลาออกหลวงปู่ท่านฉันภัตตาหารด้วยอาการสำรวมทุกครั้ง
ท่านปฏิบัติตามหลักเสขิยวัตรทุกข้อ แม้น้ำแกงท่านก็ไม่เคยฉันหกเลย ข้าวในจานท่านตะล่อมไว้ตรงกลางอย่างเรียบร้อยน้ำปานะที่หลวงปู่ฉันในยามวิกาล ก็ต้องมาจากผลไม้ที่ลูกไม่เกินกำปัน ท่านบอกว่าผลไม้ถ้าเกินกำปันใช้ไม่ได้ น้ำที่ท่านชอบคือน้ำอ้อย มีอยู่วันหนึ่งแม่ครัวทำน้ำปานะเข้าไปถวายท่าน ท่านถามว่าน้ำอะไร น้ำ ส้มโอเจ้าค่ะ ท่านบอกว่าให้เอากลับไป ฉันไม่ได้ ลูกมันใหญ่ ท่านบอกว่าถ้าเป็น ส้ม เป็นมะตูมได้ เคยมีผู้นำนมสดไปถวายท่านในตอนเย็น ท่านไม่ฉัน เนยท่านก็ไม่ฉัน
สมัยนั้นท่านห้ามเด็ดขาดอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นเครื่องยืนยันถึงความบริสุทธิ์ในศีลของท่านได้เป็นอย่างดี คือ ในคราวที่ท่านอาพาธหนัก ท่านฉันภัตตาหารได้น้อย เจ้าคุณราชโมลีเกรงว่าหลวงปู่จะไม่มีเรี่ยวแรงต่อสู้กับโรคร้ายจึงได้สั่งให้แม่ชีธัญญาณีสุดเกษ ซึ่งมีหน้าที่ทำอาหารพิเศษถวายหลวงปู่โดยเฉพาะ ต้มข้าวให้เปื่อยบดให้ละเอียด แล้วกรองด้วยผ้าขาว ใส่กระติกน้ำร้อนมาถวายหลวงปู่ในเวลาหลังเพลไปแล้ว เหตุที่ต้องใส่กระติกน้ำร้อน เพื่อให้ท่านเข้าใจว่าเป็นน้ำร้อนธรรมดา เพราะเจ้าคุณท่านเกรงว่าหากหลวงปู่รู้จะไม่ยอมฉัน เมื่อนำมาถวายท่านกลับรู้ได้เองโดยไม่มีใครบอก ท่านก็ไม่ยอมฉันท่านเป็นพระที่เคร่งครัดและอดทนมาก แม้ยามป่วย ท่านก็ยังฉันเอง ไม่ให้คนอื่นช่วย บางวันเกินเวลาแล้วมีคนเอาน้ำข้าวไปป้อน ท่านก็ไม่รับ ท่านคายออกหมด
ความกตัญูกตเวที
เมื่อคราวสมเด็จพระวันรัต (ติ ทัตตเถร) อาพาธ หลวงปู่ได้แสดงความกตัญูโดยการจัดภัตตาหารและรังนกจากวัดปากน้ำไปถวายทุกวัน ท่านตั้งงบประมาณไว้วันละ 40 บาท ทุกเช้าในเวลา 4.00 น. หลวงปู่ให้คนลงเรือจ้างจากปากคลองตลาดไปวัดพระเชตุพนฯ ไปถึงก็ได้อรุณพอดี เมื่อถวายภัตตาหารแล้ว กลับไปต้องรายงานให้ท่านทราบทุกครั้งที่ต้องนำภัตตาหารไปทางเรือ เพราะสมัยนั้นอยู่ในช่วง สงครามสะพานพุทธชำรุดส่วนถนนฝังธนบุรีไปถึงตลาดยังสร้างไม่เสร็จ รถโดยสารก็ยังไม่มี หลวงปู่ทำอย่างนี้อยู่หลายเดือนจนกระทั่งสมเด็จพระวันรัตมรณภาพการที่หลวงปู่แสดงความกตัญูด้วยคิลานุปัฏฐากนี้ ทำให้ สมเด็จพระวันรัตเห็นถึงคุณธรรมในตัวหลวงปู่
จนวันหนึ่งเมื่อเจ้าคุณพระพิมลธรรม (ฐานทัตตเถร) วัดมหาธาตุ มาเยี่ยม สมเด็จพระวันรัตในเวลาค่ำ สมเด็จพระวันรัตได้เอ่ยปากขอร้องให้ช่วยแต่งตั้งพระครู สมณธรรมมาทาน วัดปากน้ำ เป็นอุปัชฌายะด้วยเจ้าคุณพระพิมลธรรมรับด้วยความยินดี และรับรองว่าจะจัดการให้ ในเวลาต่อมา หลวงปู่วัดปากน้ำก็ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และสิ่งที่แสดงออกถึงความกตัญูกตเวทีของหลวงปู่อีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือ
ในสมัยที่ท่านเรียนทางปริยัติอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ท่านลำบากในเรื่องการขบฉันมาก บางวันบิณฑบาตไม่พอฉัน บางวันไม่ได้เลย แต่ด้วยความเพียรจึงมีผู้เลื่อมใสปวารณาในเรื่องภัตตาหาร รวมทั้งแม่ค้าข้าวแกงคนหนึ่งที่ชื่อนวม ก็ได้จัดภัตตาหารเพลถวายเป็นประจำ เมื่อหลวงปู่ย้ายมาวัดปากน้ำ แม่ค้าผู้นี้ทุพพลภาพลงเพราะชรา ขาดผู้อุปการะ ท่านก็ได้รับตัวมาอยู่ที่วัดปากน้ำ และอุปการะทุกวิถีทาง เมื่อสิ้นชีวิตก็ได้จัดการฌาปนกิจศพให้นับว่าท่านเป็นผู้ที่มีความกตัญูที่หาได้ยากยิ่ง
เห็นคุณค่าในสิ่งเล็กน้อย
หลวงปู่ท่านเห็นคุณค่าในทุกสิ่งที่ญาติโยมถวายมา แม้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ท่านไม่มองข้ามเลยอย่างเช่นในเวลาที่หลวงปู่เดินไปฉันภัตตาหารที่โรงครัว ครั้งใดที่ท่านเห็นเมล็ดข้าวสารเมล็ดเล็กๆ ตกอยู่บนพื้น หลวงปู่จะเรียกเด็กมาเก็บทุกที เพราะเห็นว่าเมล็ดข้าวสารแม้เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเก็บบ่อยๆ เข้าก็จะรวมกันเป็นจำนวนมากสามารถนำมาเลี้ยงคนได้เหมือนกัน เมื่อญาติโยมที่มาทำบุญเห็นก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใสท่านมากขึ้น
ดังนั้นไม่แปลกเลยที่ในสมัยนั้นจะมีผู้นำข้าวสารบรรทุกเรือมาถวายที่วัดปากน้ำไม่ขาดสายหลวงปู่ท่านเป็นคนประหยัด ละเอียดถี่ถ้วน เดินไปตามถนนพบเห็นเศษไม้เป็นท่อน ก็เก็บเอามาบอกว่าเอาไว้ทำฟืนได้ พวกผ้าขี้ริ้วขาดแล้วอย่าเอาไปทิ้ง เผื่อมันจำเป็น อะไรรั่วขึ้นมา เอาน้ำมันยางโปะก็กันได้ชั่วระยะ ไม่ให้ทิ้ง และที่ล้างชามอย่าไปเทพรวดๆ ค่อยๆ รินเอาน้ำออก แล้วเอาส่วนที่เหลือ ไปให้หมูให้หมากิน ท่าน สอนละเอียดเลย สอนบ่อยๆ สอนมากๆ เข้าก็ค่อยๆ ซึมเข้าไป
ความประหยัด
มีผู้มีจิตศรัทธามาถวายผ้าไตรจีวรกับหลวงปู่เป็นจำนวนมาก แต่หลวงปู่ก็ไม่ได้เก็บไว้เป็นของส่วนตัวเลย จะเอาไว้ก็เฉพาะที่ใช้เท่านั้น นอกนั้นท่านถวายแก่พระภิกษุสามเณรหมด ท่านใช้จีวรอย่างประหยัดมาก แม้ว่าจีวรจะเก่าแล้วท่านก็ยังไม่เปลี่ยน หากจีวรขาดหรือเป็นรู ท่านก็ให้ซ่อมแซมแล้วนำมาใช้ต่อ ยิ่งในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงที่ทุกอย่างขาดแคลน เนื่องจากภาวะ สงคราม หลวงปู่ท่านประหยัดมากถึงขนาดที่ว่า ท่านให้เอาอังสะหลายๆ ตัวที่ไม่ได้ใช้ ให้มาเย็บต่อกันจนเป็นจีวร แต่เนื่องจากอังสะบางตัวจะมีสีไม่เหมือนกัน ทำให้จีวรผืนนี้มีหลากสี มีทั้ง สีเหลืองเข้ม สีกลัก สีเหลืองแก่ เมื่อเย็บเสร็จแล้ว ท่านนำจีวรผืนนี้ไปแจกพระภิกษุสามเณรรูปอื่นๆ แต่ก็ไม่มีใครรับ ท่านจึงนำมาใช้เอง ท่านใส่เดินทุกวัน
ต่อมามีลูกศิษย์ผู้หนึ่งขอจีวรผืนนี้ไปบูชา ท่านจึงให้ไปผู้ที่เห็นถึงความประหยัดของท่านในเวลานั้น ต่างก็ยิ่งเลื่อมใสในหลวงปู่มากยิ่งขึ้น เห็นว่าท่านใช้เงินทุกบาททุก สตางค์ที่ญาติโยมถวายอย่างคุ้มค่าจริงๆ บรรดาญาติโยมจึงไม่เสียดายเมื่อได้ทำบุญกับท่าน และยังทำบุญกับท่านอย่างต่อเนื่องตลอดมา
มีความมักน้อยสันโดษ
หลวงปู่ท่านอยู่ง่าย เรือนที่ท่านอยู่เป็นเรือนไม้หรือกุฏิเก่าสังกะสีเก่า โบราณ ไม่มีตู้เย็นไม่มีข้าวของเครื่องใช้ที่ทัน สมัยในกุฏิของท่าน เตียงของท่านก็เก่า ตัวท่านก็ไม่ฟุ่มเฟือย ท่านมีแต่บริจาคมีแต่ดูแลพระศาสนา
มีวาจาสุภาษิต
บางคนมักเข้าใจว่าหลวงปู่ท่านเป็นคนดุ แต่ความจริงแล้วท่านเป็นพระที่รู้จักใช้คำพูด ท่านพูดด้วยความเมตตา ไม่พูดให้ใครเสียกำลังใจ คราวหนึ่งแม่ครัวนึ่งข้าวแล้วเข้าใจว่าข้าวสุกแล้ว ไม่ได้ดูให้ดีแล้วเตรียมไปถวายหลวงปู่ พอไปถึงท่านบอกว่า “แม่ครัวช่วยเปลี่ยนข้าวให้หน่อย ข้าวมันแข็ง” ท่านพูดเพียงเท่านี้ ไม่ได้ตำหนิอะไร พอแม่ครัวเอาข้าวมาดู ปรากฏว่าข้าวทั้งแข็ง ทั้งดิบ
มีมหากรุณา
หลวงปู่ท่านเมตตาต่อทุกคนอย่างเสมอภาค มีอะไรท่านจะแบ่งปันให้กับทุกคน ครั้งหนึ่งท่านเก็บมะม่วงใส่กระจาดแล้วให้แม่ชีจับฉลากกัน ใครอยากได้ก็อธิษฐานเอา หากใครขาดแคลนสิ่งใดท่านก็จะหามาให้
คราวหนึ่งในฤดูหนาวมีเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ออกมายืนบริเวณหน้าโรงงานทำวิชชาดูท่าทางเขาหนาวมาก ป้าจินตนา โอสถ (ขณะนั้นเป็นแม่ชี) เกิดความสงสาร จึงเอาผ้าห่มของตัวเองที่มีอยู่ผืนเดียวให้เขาไป เย็นวันนั้นหลวงปู่ถามว่า “ใครไม่มีผ้าห่มบ้างวะ” แล้วท่านก็ส่งผ้าห่มมาให้ 1 ผืนผ่านมาทางช่องส่งของเล็กๆ ของโรงงานทำวิชชาอีกคราวหนึ่ง เป็นเรื่องของสามเณรทวนชัย ซึ่งมีจีวรอยู่ผืนเดียว ใช้มา 78 ปี จนเก่ามากตัดสินใจไปขอผืนใหม่จากหลวงปู่ พอเข้าไปกราบท่านก็ถามว่า “เออ..มาอะไรลูก” “ผมไม่มีจีวรครับจีวรผืนนี้มันเก่า มันจะขาดหมดแล้ว” ท่านก็ให้ลุงประยูรซึ่งเป็นอุปัฏฐากของท่านไปหามาให้ เลือกเอาที่พอดีกับตัวสามเณร
มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
คราวหนึ่งพระมหาโชดก ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่และมีตำแหน่งสูง มีหน้าที่ดูแลวัดปากน้ำใน สมัยนั้นท่านมีความเข้าใจในเรื่องกรรมฐานแตกต่างไปจากหลวงปู่ ท่านเชื่อว่าการปฏิบัติสายวัดปากน้ำไม่ใช่พุทธศาสนา ไม่ใช่ทางวิปัสนา ไม่ใช่ทางหลุดพ้น และไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง เมื่อท่านมาที่วัดปากน้ำ หลวงปู่ก็แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านทั้งสองได้สนทนาธรรมกันในโบสถ์อยู่หลายวัน ภายหลังหลวงปู่ได้น้อมถวายรูปภาพชิ้นหนึ่งแก่ท่าน พร้อมกับเขียนข้อความว่า “รูปนี้ให้ไว้เป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสที่พระเดชพระคุณมา สอนวิปัสนากรรมฐานให้กระผม ซึ่งเห็นว่าถูกต้องทุกอย่าง” ด้วยมารยาท และเป็นพระผู้น้อย หลวงปู่ได้วางตัวให้เกียรติกับพระผู้ใหญ่ผลจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มีบางท่านเข้าใจไปว่า หลวงปู่ได้ละทิ้งวิชชาธรรมกาย แล้วหันมาปฏิบัติตามแบบของพระมหาโชดก ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เป็นด้วยหลวงปู่ท่านแสดงความนอบน้อมต่อพระผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นธรรมเนียมที่ดีงามของผู้เป็นเจ้าของสถานที่พึงกระทำต่อผู้มาเยือน นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานชิ้นใดที่แสดงให้เห็นว่าท่านปฏิเสธวิชชาธรรมกายเลย
ปฏิปทา
เผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก
หลวงปู่ท่านทุ่มเทเทศนาสั่งสอนประชาชน จนบรรลุธรรมตามท่านไปก็มาก ทั้งยังได้ส่งพระภิกษุและอุบาสิกาที่บรรลุวิชชาธรรมกาย มีความเชี่ยวชาญในการเทศนาสั่งสอนวิชชาธรรมกาย ในระดับที่เป็นครูสอนได้แล้ว ไปเผยแผ่ทั่วประเทศ และยังขยายต่อไปยังต่างประเทศอีกด้วย เพราะท่านปรารถนาที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก ให้ชาวโลกได้เข้าถึงพระธรรมกายกันอย่างกว้างขวาง เมื่อทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสันติสุขภายในใจที่บังเกิดขึ้น ก็จะส่งผลให้เกิดสันติภาพแก่โลกได้อย่างแท้จริงงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศเริ่มขึ้น เมื่อหลวงปู่ส่งท่านฐิตเวโทภิกขุไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายในประเทศอังกฤษ จนกระทั่งมีชาวอังกฤษเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมากหนึ่งในนั้น คือ นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงของโลก ศาสตราจารย์วิลเลียม ออร์กัสต์ เปอร์เฟิสต์แห่งมหาวิทยาลัยในกรุงลอนดอน
ซึ่งในปี พ.ศ. 2497 ท่านได้เดินทางข้ามทวีปติดตามพระฐิตเวโท มาที่วัดปากน้ำเพื่อขออุปสมบทและศึกษาวิชชาธรรมกาย หลวงปู่จึงได้ สอนให้ปฏิบัติธรรมจนเป็น และประกอบพิธีอุปสมบทให้ ณ อุโบสถวัดปากน้ำ เมื่อวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2497 และให้ฉายาว่า กปิลวัฑโฒภิกขุ ซึ่งนับเป็นพระภิกษุชาวต่างชาติรูปแรกของประเทศไทยเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว
ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุตั้งใจปฏิบัติธรรมต่อจนเข้าถึงพระธรรมกาย หลวงปู่วัดปากน้ำจึงให้ท่านใช้วิชชาธรรมกายไปตามโยมพ่อซึ่งถึงแก่กรรมแล้ว ให้มารับส่วนบุญที่ลูกชายได้บวช แต่ก็ไม่พบโยมพ่อทั้งบน สวรรค์และในนรก หลวงปู่จึงนั่งเข้าที่คุมไปด้วย คราวนี้ตรวจอย่างละเอียดก็ยังไม่พบ หลวงปู่จึงสั่งให้ไปดูบนพื้นมนุษย์ ปรากฏว่าโยมพ่อได้มาเกิดเป็นลูกสาวของลูกชายตนเองแล้ว การใช้วิชชาธรรมกายตามหาพ่อในครั้งนี้ ทำให้ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุซาบซึ้งในพระคุณของหลวงปู่เป็นอย่างมาก ที่ได้เมตตาแนะนำสั่งสอนการปฏิบัติธรรมให้อย่างที่ไม่เคยเรียนรู้จากใครมาก่อนที่วัดปากน้ำ ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุเคยแสดงปาฐกถาในที่ประชุมของวัด สรุปได้ว่า การมาวัดปากน้ำครั้งนี้ ได้รับความเมตตาปรานีจากหลวงปู่เป็นอย่างมาก จุดประสงค์ที่มานี้ก็เพื่อศึกษาการทำสมาธิ สมถะและวิปัสนากัมมัฏฐาน ซึ่งท่านได้ศึกษาเชิงทฤษฎีมาแล้ว จึงตั้งใจจะมาศึกษาในเชิงปฏิบัติต่อไป จนกว่าจะบรรลุมรรคผล นิพพาน
ท่านมีความมั่นใจที่มีหลวงปู่วัดปากน้ำเป็นพระอุปัชฌาย์ และเชื่อในวิชชาธรรมกาย เพราะได้รู้ได้เห็นมาแล้ว ท่านตั้งใจจะบวชตลอดชีวิต และจะพยายามสร้างวัดที่ประเทศอังกฤษให้ได้เมื่อท่านกปิลวัฑโฒภิกขุปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงพระธรรมกาย และสามารถถ่ายทอดหลักธรรมคำ สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แล้ว หลวงปู่จึงส่งกลับไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศอังกฤษในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497
สมัยนั้นมีชาวอังกฤษมาศึกษา สมถวิปัสนากับพระอาจารย์กปิลวัฑโฒถึง 23 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีอยู่ 4 คน ที่ผลการปฏิบัติธรรมดีมาก และตั้งใจจะบรรพชาอุปสมบทท่านกปิลวัฑโฒภิกขุจึงขอความเมตตาจากหลวงปู่ในการนำศิษย์ 4 คน มาทำพิธีอุปสมบทที่วัดปากน้ำซึ่งหลวงปู่ก็อนุญาตด้วยความปลื้มปีติที่พระพุทธศาสนาจะแผ่ไปปักธงชัยในยุโรปแล้ว
หลวงปู่มีดำริที่จะสร้างวัดไทยในประเทศอังกฤษ เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวร ท่านได้นำโครงการนี้ไปปรึกษากับ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรีใน สมัยนั้น แต่หลวงปู่ท่านอาพาธเสียก่อน โครงการจึงต้องระงับไปอย่างไรก็ตาม ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุก็สามารถไปจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรม เรียกว่า “สำนักพุทธวิหารแมพ์ เตต” ได้สำเร็จ ซึ่งนับเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญของการหยั่งรากพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายในต่างแดน
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุจึงเดินทางกลับมาวัดปากน้ำอีกครั้ง พร้อมกับนำชาวอังกฤษซึ่งได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว 3 รูป มาศึกษาวิชชาธรรมกาย และให้หลวงปู่ทำพิธีอุปสมบทให้ กำหนดการอุปสมบทมีขึ้นในวันมาฆบูชา วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2499 งานบวชในครั้งนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนอนุโมทนาสาธุการกันทั่วประเทศสามเณรทั้งสามรูปที่เดินทางมาอุปสมบท มีรายนามดังนี้
1.สามเณรโรเบิร์ต แอลนิสัน ชาวอังกฤษ อายุ 24 ปี จบอักษรศาสตรบัณฑิต อาชีพเดิมเป็น
นายหน้าค้าขาย เมื่อบวชแล้วได้รับฉายาว่าสัทธาวัฑโฒ
2.สามเณรยอชเปลค ชาวจาไมก้า อายุ 33 ปี จบเศรษฐศา ตรมหาบัณฑิต อาชีพเดิมเป็น
ข้าราชการในประเทศอังกฤษ เมื่อบวชแล้วได้รับฉายาว่า วิชชาวัฑโฒ
3.สามเณรปีเตอร์ มอร์แกน ชาวอังกฤษ อายุ 30 ปี อาชีพเดิมเป็นวิศวกรไฟฟ้า เมื่อบวชแล้ว
ได้รับฉายาว่า ปัญฐาวัฑโฒ
ทั้ง 3 ท่านนี้ ต่างก็เป็นผู้มีการศึกษา และเคยนับถือศาสนาอื่นมาก่อน การเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธจนถึงกับ ละชีวิตออกบวช จึงเป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา และสร้างความปีติให้กับคนไทยทั้งหลายเพราะพระภิกษุชาวต่างชาติทั้ง 3 รูป จะได้เป็นกำลังสำคัญในการนำธรรมะของพระบรมศาสดากลับไปเผยแผ่ยังมาตุภูมิของท่านต่อไปนอกจากนี้ยังมีสุภาพ สตรีชาวอังกฤษ 3 คน ซึ่งเคยปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์กปิลวัฑโฒแล้วรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาในวิชชาธรรมกาย จึงติดต่อขอเข้ามาบวชเป็นอุบาสิกา ซึ่งหลวงปู่ก็อนุญาติจึงเดินทางมาอยู่วัดปากน้ำ นุ่งขาวห่มขาว รักษาศีล และเจริญภาวนา ในลักษณะของอุบาสิกาหลักธรรมคำ อนของหลวงปู่ นอกจากจะเป็นที่ สนใจของชาวตะวันตกแล้ว ยังมีชาวเอเชียตะวันออก คือ ชาวญี่ปุ่น เดินทางมาเพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ด้วย
โดยในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2497 ได้มีคณะ มณทูตจากญี่ปุ่น ภายใต้การนำของท่านสังฆราชตาคาชินา เดินทางมาเยี่ยมวัดปากน้ำคณะสงฆ์จากญี่ปุ่น สนใจศึกษาเรื่องฐานที่ตั้งของใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านสังฆราชถึงกับกล่าวชื่นชม และอาสาจะนำวิธีการวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายไปเผยแผ่ในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีพระผู้ติดตามในคณะชื่อท่านกาชิยูอิไซสามารถปฏิบัติธรรมจนได้รับผลการปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจ ถึงกับกล่าวทั้งน้ำตาแห่งความปีติหลังจากฝึกสมาธิว่า “ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยพบความสุขเช่นนี้เลย”ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 มีชาวญี่ปุ่นชื่อ นายทาโก ชิมารุจิ เป็นนักบวชนิกายนิชิเร็น สนใจการ ปฏิบัติธรรม และต้องการอุปสมบทพร้อมทั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำ
แต่ในขณะนั้นหลวงปู่ท่านอาพาธสมเด็จป๋าวัดโพธิ์ ครั้งยังดำรง สมณศักดิ์ที่พระธรรมวโรดม จึงเป็นพระอุปัชฌาย์แทน พร้อมทั้งให้ฉายาว่า ธัมมฉันโท ภิกขุ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำประมาณ 6 เดือน เมื่อปฏิบัติธรรมจนบรรลุวิชชาธรรมกายจึงกลับไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
1 แฉล้ม อุศุภรัตน์, ขุมทรัพย์ของบัณฑิต (ทรัพย์นี้มีใกล้ ใครปัญญาไว หาได้บ่นาน) และ ทาน ศีล ภาวนา การบำเพ็ญ
กุศลของคุณธีระ อุศุภรัตน์, (กรุงเทพมหานคร ไทยประสานการพิมพ์, 2529), หน้า 169
ไปถึงที่สุดแห่งธรรม
ในหนทางการสร้างบารมีของพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย ล้วนต้องผจญกับอุปสรรคนานัปการในทางพระพุทธศาสนาเรียกอุปสรรคเหล่านั้นว่า “มาร” เหล่าพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมีชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน จนกระทั่งบารมีเต็มเปียม จึงจะหลุดพ้นจากการบังคับบัญชาของพญามาร เข้าสู่พระนิพพานได้แม้กระนั้น อำนาจของมารก็ยังหาหมดสิ้นไปไม่ มวลมนุษยชาติทั้งหลายล้วนยังอยู่ในบังคับบัญชาของมารทั้งสิ้น โดยที่ไม่ได้รู้ตัวเลย หลวงปู่วัดปากน้ำได้กล่าวไว้ว่า”เวลานี้พญามารบังคับใช้ อยู่ ให้เป็นบ่าวเป็นทาส เขา เขาจะใช้ทำอะไรทำได้ ให้ด่า ให้ตี ให้ชก ให้ฆ่าให้ฟันกันได้ มารบังคับ มันบังคับได้อย่างนี้นะ ให้เป็นบ่าวเป็นทาส เขา ให้เลวทรามต่ำช้า ให้เป็นคนจนอนาถา ติดขัดทุกสิ่งทุกอย่าง เครื่องกินเครื่องใช้บกพร่อง เครื่องกินเครื่องใช้ไม้ อยู่ไม่มีมารเขาทำได้บังคับได้ “ท่านยังบอกไว้อีกว่า ” ภาพความเป็นเอง (ความแก่ความตาย) ปรุงแต่ง หรือว่าใครปรุงแต่งอยู่ที่ไหน เรื่องนี้หมดทั้งประเทศ หมดทั้งชมพูทวีป หมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล หมดทั้งอนันตจักรวาลตลอดนิพพาน ภพสาม โลกันต์ มากน้อยเท่าใดนั้น ไม่รู้กันทั้งนั้นว่าเป็นเพราะเหตุอะไร แต่วัดปากน้ำมีคนรู้ขึ้นแล้ว เป็นดังนี้เพราะอะไรที่ตั้งวัยให้แก่ยับเยินไปเช่นนี้ เป็นเองหรือใครทำอยู่ที่ไหน รู้ทีเดียวว่าใครทำอยู่ที่ไหนรู้ว่าไม่ใช่ใคร จับตัวได้ คือ พญามารนั่นเองเป็นคนทำให้แก่ ให้เจ็บ ให้ตาย เกิดแก่เจ็บตายอย่างยับเยิน เกิดก็อย่าง ยับเยิน เดือดร้อน พ่อไม่ตาย บางทีแม่ตาย บางทีลูกก็ตาย แม่ก็ตาย พ่อก็ยังจะตายตามอีก โดดน้ำตายเสียอกเสียใจ นี่พญามารทำทั้งนั้นสำหรับประหัตประหารฝ่ายพระ
ถ้าว่ามนุษย์ผู้ใดเป็นฝ่ายพระละก็ มารข่มเหงอยู่อย่างนั้นแหละไม่ขาดสาย ไม่เช่นนั้นก็ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง บางทีหมั่นไส้นัก ทำเก่งกาจ อวดดิบอวดดี ให้ฆ่ากันตายเสีย ให้กินยาตายเสีย ให้โดดน้ำตายเสีย ให้ผูกคอตายเสีย นี่ใครทำ พญามารทั้งนั้น ไม่ใช่ใครไม่มีใครรู้ แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกาย มีเท่าไรไม่มีใครรู้ ไม่รู้เรื่องทีเดียว ในเรื่องนี้ว่าพญามารเขาคอยบับคั้นอยู่ ให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เดือดร้อนยับเยินเช่นนี้เพราะพญามารเขาส่งฤทธิ์ส่งเดชส่งอำนาจส่งวิชชาที่ศักดิ์สิทธิ์ มาบังคับบัญชา บังคับให้เป็นไป”
หลวงปู่วัดปากน้ำท่านมีเป้าหมายจะไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรม จะเอาชนะการบังคับบัญชาของมารให้ได้มิใช่เพียงแค่หลุดพ้นการบังคับบัญชาของมารเท่านั้น แต่ยังปรารถนาที่จะกำจัดมารทั้ง 5 ฝูง นั้นให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ไม่อาจมีอิทธิพลคุกคาม รรพสัตว์ได้อีกต่อไป
ท่านกล่าวว่า”โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต ทำมาได้ก็จริง แต่ว่าไม่ติด ไปติดอยู่แค่โคตรภูเท่านั้นเองที่จะติดโ ดา กทาคา อนาคา อรหัต ไม่ติด หลุดเสีย เพราะเหตุอะไรจึงหลุดไป มารเขารองรากเสียเขาเอาละเอียดมารองรากเสีย ไม่ติด กำลังแก้อยู่ ผู้เทศน์นี้แหละเป็นตัวแก้ละ กำลังแก้ รวมพวกแก้อยู่ทีเดียว แก้ไขอ้ายละเอียดเหล่านี้ให้หมดให้ได้ หมดได้เวลาใดแล้วก็ โสดาจะติด สกทาคาจะติดอนาคาจะติด อรหัตจะติด แล้วจะเหาะเหินเดินอากาศกันได้ทีเดียว…
“แม้หลวงปู่ท่านรู้ว่าความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นสิ่งที่มีอยู่ แต่ท่านหาญกล้าที่จะฝ่าฟันไปยังจุดที่จะเอาชนะการครอบงำบังคับบัญชาของมาร เข้าถึงความเป็นอิสระในชีวิตของตนเอง ปกครองตนเองไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายได้ ปฏิปทาอันยิ่งใหญ่ของท่าน จึงยากนักที่จะมีใครอาจหาญคิดปรารถนาเช่นนี้ได้
ผู้สืบทอดปฏิปทา
ก่อนที่หลวงปู่จะมรณภาพ ท่านให้โอวาทกับศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลายคนว่า ให้เผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป โดยไม่ย่อท้อจนกว่าจะสิ้นชีวิต ไม่ให้ไปไหน ให้อยู่ที่วัดปากน้ำ รอผู้ที่จะมา สืบทอดวิชชาธรรมกายในวันข้างหน้าต่อไป
ดังนั้นหลังจากที่หลวงปู่วัดปากน้ำมรณภาพแล้ว ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลายคนพยายามรักษาปฏิปทาของท่านไว้อย่างมั่นคง ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของท่านซึ่งเป็นมรดกสำคัญและล้ำค่าชิ้นสุดท้ายในจำนวนนั้นมีอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และอุบาสิกาทองสุกสำแดงปัน ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกายมาจากหลวงปู่วัดปากน้ำอย่างเข้มข้นทั้ง สองท่านได้ปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงปู่วัดปากน้ำตลอดมา คือ เป็นครู สอนธรรมะ เผยแผ่วิชชาธรรมกายอยู่ที่วัดปากน้ำเรื่อยมา ภายหลังอุบาสิกาทองสุกได้ละจากโลกไป อุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง หรือที่เหล่าลูกศิษย์ลูกหามักจะเรียกท่านว่า “คุณยาย” ได้ตระหนักและเคารพหลวงปู่อย่างยิ่ง จึงยึดมั่นและทุ่มเท สอนสมาธิ เผยแผ่วิชชาธรรมกาย อบรมขัดเกลาผู้ที่เข้ามาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ด้วยความเมตตาและตั้งใจจริง
เมื่อมีศิษย์ผู้ร่วมอุดมการณ์จำนวนหนึ่งแล้ว คุณยายจึงได้นำหมู่คณะมาสร้างบุญถวายไว้สำหรับรองรับผู้มีบุญบารมี และพร้อมที่จะดำเนินรอยตามปฏิปทาของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำสืบไป ณ บริเวณท้องทุ่งรังสิต จังหวัดปทุมธานี ภายหลังได้กลายมาเป็นวัดพระธรรมกาย ที่มีผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมจำนวนเรือนแสน และมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก โดยมีหลวงพ่อธัมมชโย เป็นผู้นำในการสานต่อปณิธานของหลวงปู่วัดปากน้ำจนเป็นรูปธรรมปรากฏชัดอยู่ในขณะนี้
คุณธรรมของหลวงปู่
หากเราพิจารณาถึงคุณลักษณะเด่น ๆ ของหลวงปู่เราจะทราบได้ว่าเพราะเหตุใดท่านจึงยืนหยัดในการทำความดีได้อย่างมั่นคง สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ จนสามารถเผยแผ่วิชชาธรรมกายให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในยุคนั้นได้
ดังนั้น การศึกษาอัตชีวประวัติของหลวงปู่ จึงเป็นการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาของบุคคลผู้เป็นแบบอย่างในการทำความดีจากเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษา ปรับเข็มทิศชีวิต ให้สามารถดำเนินไปในแนวทางที่ถูกต้อง อีกทั้งยังสามารถนำคุณธรรมของท่านมาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการทำความดีและปฏิบัติตามท่านได้
การตั้งเป้าหมายชีวิตที่มั่นคง
ความมีจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ของหลวงปู่ในการตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เห็นได้จากเหตุการณ์ครั้งเมื่อท่านล่องเรือค้าข้าวผ่านคลองบางอีแท่น ซึ่งเป็นแหล่งโจรผู้ร้ายชุกชุม ทำให้ท่านต้องถือปืนคอยระวังภัยอยู่ท้ายเรือ เมื่อผ่านคลองบางอีแท่นมาได้แล้ว ท่านได้คิดพิจารณาเห็นว่า
บุรพชนต้นสกุลเรื่อยมาจนถึงบิดาของท่านได้มีความยากลำบากและเสี่ยงภัยอันตราย อีกทั้งยังเสียเวลาทั้งชีวิตไปกับเรื่องการแสวงหาทรัพย์สมบัติ แต่เมื่อตายไปแล้วกลับไม่สามารถนำทรัพย์สมบัติเหล่านั้นติดตัวไปได้แม้สักชิ้นเดียว ตัวท่านเองวันหนึ่งก็ต้องตายเหมือนกัน คิดได้ดังนั้นท่านจึงตั้งเป้าหมายที่จะออกบวชตลอดชีวิตนับแต่นั้นเป็นต้นมา แม้กาลเวลาจะผ่านไปเป็นปีท่านก็ยังคงรักษาเจตนารมณ์ไว้เช่นเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง
สละชีวิตทางโลกเพื่อแสวงหาธรรม
เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามความตั้งใจที่มีมาแต่เดิมแล้ว ท่านก็มิได้บวชไปวันๆ แต่กลับเพียรพยายามและทุ่มเทเวลาเพื่อศึกษาธรรมฃฃทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไปเป็นเวลานานหลายปี จนมีความแตกฉานสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้
การแสวงหาความรู้กับพระอาจารย์ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติกรรมฐานจากสำนักต่างๆ อยู่เสมอมิได้ขาดตลอดระยะเวลาหลายปีของท่านนั้น เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าท่านได้รักษาสัจจะที่ให้ไว้กับตัวเองในการออกบวชเพื่อแสวงหาธรรมที่เป็นแก่นแท้ของชีวิตอย่างแท้จริง ชีวิตในเพศสมณะของหลวงปู่จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างที่สุดสมความตั้งใจที่ท่านยอมสละชีวิตทางโลกอย่างไม่คิดเสียดายทรัพย์สมบัติที่มีอยู่
ความเด็ดขาด เอาจริงเอาจัง
ด้วยอุปนิสัยเอาจริงเอาจัง เมื่อตั้งใจจะทำสิ่งใดก็มุ่งมั่นทำสิ่งนั้นจนสำเร็จลุล่วง ครั้นเมื่อหลวงปู่ปรารถนาต้องการรู้เห็นธรรมตามแบบอย่างที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ท่านจึงเพียรปฏิบัติสมาธิอย่างสม่ำเสมอมิได้ขาดมาเป็นเวลาหลายปี มิได้ย่อท้อ จนกระทั่งความพยายามได้สำเร็จผล ทำให้ท่านค้นพบวิธีการเข้าถึงธรรมกายตามแบบอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการทำใจหยุดนิ่งให้สนิทจนเป็นหนึ่งเดียวกัน นี่จึงเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า “หยุด เป็นตัวสำเร็จ”
ดังจะเห็นได้ว่าการค้นพบวิธีเข้าถึงธรรมกายของหลวงปู่นั้นไม่ใช่สิ่งบังเอิญที่ได้มาอย่างง่าย ๆ แต่นั่นเป็นเพราะความเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น และทุ่มเทชีวิตเพื่อการปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมขององค์พระศาสดาโดยไม่ย่อท้อของหลวงปู่ เมื่อยังปฏิบัติไม่ได้ก็ไม่ยอมเลิกราหรือละทิ้งความตั้งใจที่มีอยู่ กลับเพียรพยายามแสวงหาครูบาอาจารย์ และปฏิบัติด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด
ดังนั้นคุณธรรมของหลวงปู่ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เราสามารถนำมาเป็นหลักปฏิบัติเพื่อเป็นต้นแบบในการทำความดีและพัฒนาผลการปฏิบัติธรรมของเราให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นได้