คำสอน

ทำใจให้หยุด

ภาวนํ ภาเวติ ทำให้จริง ให้หยุดให้นิ่ง ทำให้มีให้เป็นขึ้น กี่คน ๆ ก็สงบนิ่ง เมื่อสงบนิ่งแล้ว คนมีสักเท่าไรก็ไม่รกหูรกตา ไม่รำคาญไม่เดือดร้อน เป็นสุขสำราญเบิกบานใจอยู่เป็นนิจ นี่เขาเรียกว่าภาวนา ทำใจให้หยุดสงบ หยุดสงบแล้วไม่ใช่แต่เท่านั้น หยุดอยู่สงบ หาเรื่องทำ จะได้ทรัพย์สมบัติมาเลี้ยงกันอีก ให้พวกเขาอยู่เป็นสุขสำราญ เครื่องกินเครื่องใช้ไม่ขาดตกบกพร่องจะให้เป็นคนสมบูรณ์อยู่เสมอ ก็ต้องใช้วิชาวิปัสสนาภาวนา หาปัญญาแก้ไขให้ทานในวันต่อไป ไม่ให้หมดให้สิ้นไป เมื่อให้ทานไม่หมดไม่สิ้นไปเช่นนี้ พวกพ้องก็มากขึ้นเป็นลำดับ ภาวนานั่นแหละจะช่วยเขาได้ทุกสิ่งทุกประการที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๔๔ – ๔๕  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

เข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติ

เมื่อบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียแล้ว ถ้ากลั่นเข้ามาถึงเจตนา เจตนาก็บริสุทธิ์ บังคับกายบริสุทธิ์ บังคับวาจาบริสุทธิ์ บังคับใจบริสุทธิ์ นั่นก็ยังเป็นทางปริยัติอยู่ ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติเข้าถึงทางปฏิบัติ เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สำเร็จมาจากบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ สำเร็จมาจากเจตนา เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า นี่ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ถ้าว่าห่างจากธรรมนั้นไม่รับรอง ถ้าติดอยู่กับธรรมนั้นรับรองทีเดียว นั่นแหละ ธัมโม ละเรียกว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้นที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๘๕ – ๘๖ (กัณฑ์ที่ ๑๒ ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม ๑๒…

ธรรมนั่นแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ  ธรรมนั่นแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเพราะธรรมคือความดี คุณธรรมให้ผลตามกาล ดีฝ่ายเดียวให้ผลเป็นสุขฝ่ายเดียวเทศนาธรรมที่พระองค์ตรัสเทศนา ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในเบื้องปลาย ท่านวางหลักไว้ ไพเราะในเบื้องต้นคือศีล บริสุทธิ์กายวาจาเรียบร้อยดีไม่มีโทษ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงศีล ไพเราะในท่ามกลางคือสมาธิ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงสมาธิ ไพเราะในเบื้องปลายคือปัญญา ตลอดจนกระทั่งถึงดวงปัญญาที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๘๑ – ๘๒ (กัณฑ์ที่ ๑๒ ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม ๑๒ มกราคม ๒๔๙๗)

ดวงธรรมนั้นแหละเป็นที่พึ่งสำคัญ

ดวงธรรมผ่องใสสะอาดสะอ้าน กายต่างๆนั้น ก็รุ่งโรจน์โชตนาการธรรมดวงนั้นซูบซีดเศร้าหมอง กายมนุษย์ก็ไม่ผ่องใสซอมซ่อไม่สวยงามน่าเกลียดน่าชังไป เพราะธรรมดวงนั้นสำคัญนักธรรมดวงนั้นเป็นชีวิตของมนุษย์ ดวงธรรมนั้นแหละเป็นที่พึ่งสำคัญ(ที่มา สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตน น.๘๙๔)

สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี

โลกที่จะได้รับความสุขใจก็ต้องหยุด ตามส่วนของโลกธรรมที่จะได้รับความสุขก็ต้องหยุด ตามส่วนของธรรมท่านได้แนะนำไว้ตามวาระพระบาลีว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มีหยุดอันนั่นเองเป็นตัวสำคัญ เพราะเหตุนั้นต้องทำใจให้หยุด(ที่มา หลักการเจริญภาวนา สมถวิปัสสนาฏรรมฐาน น.๙๐๙ บ.๑๙)

ทำจริง ได้ทุกคน

พระก็ดี เณรก็ดี ทำจริงก็เป็นทุกคนเท่านั้นแหละ จริงแค่ไหนล่ะ จะเป็นทุกคนน่ะ จริงแค่ชีวิตซิเป็นทุกคน จริงอย่างไรล่ะ นั่งลงไปประเดี๋ยวก็ได้รู้จริงกันละ นั่งลงไป เมื่อยเต็มที เอ้าเมื่อยก็เมื่อยไป ปวดเต็มที เอ้าปวดก็ปวดไป ทนไม่ไหว เอ้าไม่ไหวก็ทนไป ทนให้ไหว มันจะแตกก็แตกเดี๋ยวนี้ ดับให้มันดับเดี๋ยวนี้ ไม่ถอยเลย ให้เอาจริงเอาจัง ต้องเป็นทุกคน ไม่ต้องไปสงสัยล่ะ.ที่มา,หน้า ๓๖๒ บ.๑๙ (กัณฑ์ที่ ๒๗ มงคลสูตร ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)

เห็นด้วยตาธรรมกาย

เห็นไม่มีที่สิ้นสุด รู้ไม่มีที่สิ้นสุด เห็น จำ คิด รู้ เท่ากันเห็นไปแค่ไหน รู้ไปแค่นั้น จำไปแค่ไหนรู้ไปแค่นั้น คิดไปแค่ไหนรู้ไปแค่นั้น เท่ากัน ไม่ยิ่งไม่หย่อนกว่ากัน นี่อย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนา เห็นอย่างนี้เห็นด้วยตาธรรมกาย แปลว่าเห็นแจ้งเห็นวิเศษถ้าไม่ถึง ไม่รู้รสชาติของนิพพานทีเดียว ถ้ามีธรรมกายแล้ว ยินดีนิพพานได้ นิพพานเป็นที่สงัด เป็นที่สงบ เป็นที่เงียบ เป็นที่หยุดทุกสิ่ง ถึงนิพพานแล้ว สิ่งที่ดีจริงอยู่ที่นิพพานทั้งนั้น.ที่มา,หน้า ๓๑๖  (กัณฑ์ที่ ๒๔ ติลักขณาทิคาถา ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)

ธรรมะอยู่ที่ศูนย์กลางกาย

พวกเรานี่มันสงสัยทุกคนนั่นแหละ ธรรมมากมายนัก โน่นก็ธรรม นี่ก็ธรรม ไม่รู้จะไปเอาธรรมที่ไหนแน่ ไม่รู้จะเอาธรรมที่ไหนแท้ๆ นี้ธรรมอันนี้แหละเป็นตัวจริงละ ให้เอาใจติดอยู่ตรงนี้แหละ อย่าไปเที่ยวหาอื่นให้มันอื่น จากศูนย์กลางกายมนุษย์ กลางกายของตัวไปเลยตรงนั้นแหละ เอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นแหละ ถ้ายังไม่เห็น นานๆ เข้าก็เห็นเอง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นเอง…ที่มา,หน้า ๒๙๓ (กัณฑ์ที่ ๒๒ อุทานคาถา ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)

เชื่อในพระธรรมกาย 

ถ้าแม้ว่าปุถุชน หญิงก็ดี ชายก็ดี ทำใจแน่ได้ขนาดนั้นละก็ แปลว่านับถือศาสนาเป็นเบอร์ ๑ ไม่มี ๒ มาเทียมละ แน่นขนาดนั้น แน่นแค่ไหน แน่นไปจริงๆ  เชื่อในพระตถาคตเจ้า เชื่อในพระธรรมกาย ลงไปแค่ชีวิต แน่นแค่ชีวิต แม้จะตายเสีย ก็ตายไปเถอะ ที่จะไม่ให้เชื่อพระธรรมกายละก็เป็นไม่ได้เด็ดขาด ฆ่าเสียก็ยอม ตายก็ตายไป ให้เชื่อกันจริงลงไปอย่างนี้ อย่างนี้ได้ชื่อว่า ตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า นี้เป็นข้อต้น…ที่มา,หน้า ๒๘๕ บ.๑๕ (กัณฑ์ที่ ๒๑ อริยธนคาถา ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)