คำสอน

อย่าประมาท

อย่าเลินเล่อ อย่าเผลอตัว อย่าประมาท ถ้าว่าประมาทเลินเล่อเผลอตัวแล้วความตายจะมาถึงเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ต้องไม่ประมาทจึงจะใช้ได้ความไม่ประมาทนั้นเป็นตัวสำคัญ เป็นตัวไม่เผลอ เป็นตัวไม่ตายเพราะความประมาทนั้นเป็นตัวสำคัญ เป็นตัวเผลอ เป็นตัวตายนี่เพราะเป็นอยู่ดังนี้..(ที่มา โอวาทสุดท้าย เมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๐ น.๙๐๒ บ.๒๓)

เราผู้ตถาคตคือธรรมกาย

พระองค์ทรงรับสั่งกับ พระวักกลิภิกขุว่า อเปหิ วกฺกลิ วักกลิจงถอยออกไป อิมํ ปูติกายํ ทสฺสนํ มาดูใยเล่าร่างกายตถาคตที่เป็นของเปื่อยเน่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ   แนะสำแดงวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราผู้ตถาคต ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ  ผู้ตถาคตคือธรรมกาย นั่นแน่ะบอกตรงนั้นแน่ะ ว่าเราผู้ตถาคตคือธรรมกาย ธรรมกายนั้นเองเป็นตัวตถาคตเจ้า.

ใจใส เงินไหลเข้ามาเอง

ถ้าว่าจิตหยุดเสียได้ละก็ เขมํ ทีเดียว เกษมผ่องใสเหมือนอย่างกระจกคันฉ่องที่ส่องเงาหน้าทีเดียว ถ้าจิตผ่องใสขนาดนั้นแล้ว ไม่ต้องทำงานอะไรมากมายไปหรอก มันไหลเข้ามาเอง เงินนะ ไม่เดือดร้อน มีแต่เงินเข้า เงินออกไม่มีนะ ออกก็เล็กๆน้อยๆเข้ามามากทำใจให้ใสอยู่ท่าเดียวแหละ ใจเป็นแดนเกษมอยู่เสมอไปอย่างนี้ ให้ตั้งจิตให้อยู่ ให้ดูของตัวไว้ให้ผ่องใสอยู่อย่างนั้น เงินทองไหลมาเป็นมงคลแท้ๆ.ที่มา,หน้า ๓๕๔ บ.๑๘ (กัณฑ์ที่ ๒๗ มงคลสูตร ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)

ดื่มสุราทำให้เกิดโทษ

สุรามันเกิดขึ้นในประเทศใด ประเทศนั้นย่อยยับหนา สุรามันไปติดยู่กับคนใดละคนนั้นก็ย่อยยับหนา หญิงก็ดีชายก็ดี ติดสุราดื่มสุราละก็ ย่อยยับหนา เอาตัวรอดไม่ได้ นี่ร้ายนัก เขาเรียกว่าฆ่าตัวเองทั้งเป็น ทำลายตัวเองอย่างดื้อๆ ตัวเองดีๆทำให้เป็นคนเสีย ตัวเองบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ ทำให้ไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ กลายเป็นคนบ้าเสียแล้ว นี่แหละเรียกว่าดื่มสุราละ มีโทษมากนัก เหลือที่จะคณนานับทีเดียว เพราะฉะนั้น ควรเว้นขาดจากใจ ต้องเว้นให้ขาดทีเดียว.ที่มา,หน้า ๓๔๔ บ.๑๕ (กัณฑ์ที่ ๒๖ มงคลสูตร ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)

ไม่ประมาทในความเห็นผิด

ไม่ประมาทในความเห็นผิด ทำความเห็นถูกให้บังเกิดมี ไม่ประมาทในความทุจริต ทำความสุจริตให้บังเกิดมี การไม่ประมาทนั้นจบพระไตรปิฎก คือ วินัยปิฎก สุตตันนปิฎก ปรมัตถปิฎกความดีมีมากน้อยเท่าใด รวมอยู่ในความไม่ประมาทสิ้น ความชั่วมีมากน้อยเท่าใด รวมอยู่ในความประมาทสิ้น.ที่มา,หน้า ๓๔๐ บ.- (กัณฑ์ที่ ๒๖ มงคลสูตร ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)

ทุกข์ทางร่างกาย

ทุกข์น่ะมีจริงๆนะ หมดทั้งร่างกายนี้ทุกข์ทั้งก้อน หรือใครว่าสุข ลองเอาสุขมาดู ก็จะไปหยิบเอาทุกข์ให้ดูทั้งนั้น ตลอดจนกระทั้งชาติ เกิดก็เป็นทุกข์ ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิดเป็นทุกข์ เมื่อเกิดแล้วก็มีแก่ มีเจ็บ มีแปรไปตามหน้าที่ ก็ออกจากทุกข์นั่น ทั้งนั้น ไม่ใช่ออกจากสุข ต้นนั่นเป็นทุกข์ทั้งนั้น เกิดนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ล่ะ ต้องกำหนดรู้มันไว้.ที่มา,หน้า ๓๒๕ บ.24  (กัณฑ์ที่ ๒๔ ติลักขณาทิคาถา ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)

ผู้มีปัญญา 

ผู้มีปัญญารู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สูงและต่ำ ดีชั่ว ผิดชอบ เมื่อเราตั้งอยู่ในความเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องมีใจโอบอ้อมอารีต่อผู้น้อย ต้องมีใจอย่างนั้น เราเป็นผู้น้อยก็ต้องตั้งอยู่ในความเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ อย่าถือเอาแต่ตัวของตัวไม่ได้ ต้องเคารพคาราวะซึ่งกันและกัน ผู้น้อยผู้ใหญ่เป็นลำดับลงไป เคารพซึ่งกันและกันตามหน้าที่ ตามพรรษา อายุ ตามคุณธรรมนั้นๆ นั่นเรียกว่ามีปัญญา

ธรรมะประจำตัว

คิดถึงแต่สมบัติบ้าๆ เข้าใจแต่สิ่งหยาบๆ เที่ยวคว้าเรื่อยเปื่อยทีเดียว วุ่นวายไปตามกัน เพราะเหตุว่าไม่มีธรรม ๔ อย่างนี้ อยู่ในตัว ถ้ามีธรรม ๔ อย่างนี้ประจำอยู่ในตัวแล้ว ไม่วุ่นวาย ไม่คลาดเคลื่อน แต่อย่างหนึ่ง อย่างใด ยิ้มกริ่มทีเดียว เพราะไปเจอบ่อทรัพย์ใหญ่เข้าแล้ว  มีธรรม ๔ ประการอยู่ในตัว คือ เป็นคนเชื่อในพระตถาคตเจ้า, มีศีลอันดีงาม, เลื่อมใสในพระสงฆ์ , ความเห็นของตัวให้ตรงไว้ เห็นธรรมนั่นเอง นี่แหละนักปราชญ์ทั้งหลายเชิดชู กล่าวว่าบุคคลนั้น ไม่ใช่เป็นคนจน  ถ้าเราไม่อยากเป็นคนจน อยากเป็นคนมั่งมีแล้ว ต้องมีธรรม 4 ประการนี้ อย่าให้เคลื่อนที่มา,หน้า ๒๙๐ บ.๒๗ (กัณฑ์ที่ ๒๑…

ความเกิดนั่นแหละเป็นทุกข์

เมื่อใดเห็นตามความจริงว่า ความเกิดนั่นแหละเป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นสุข เมื่อรู้ว่าความเกิดนั่นเป็นทุกข์แล้วเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เมื่อเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เบื่อในทุกข์แล้ว ไม่อยากได้ในเบญจขันธ์เหล่านั้น ปล่อยเบญจขันธ์เหล่านั้น นั่นแหละได้ชื่อว่าเป็นหนทางหมดจดพิเศษที่มา,หน้า ๑๓๗ บรรทัดที่  ๖  (กัณฑ์ที่ ๙  เบญจขันธ์ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖)