การรักษาศีล

ศีล 5

สีลํ รกฺขติ หากว่ามีคนมากเช่นนี้ คือตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป เราต้องรักษาศีล ต้องบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา และบริสุทธิ์ใจ มีศีลด้วยกันทั้งหมด ศีล ๕ คือปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมฯ มุสาฯ สุราฯห้าสิกขาบทนี้ ต้องบริสุทธิ์จริงๆ ควรระวังให้ดี อย่าให้เหตุเหล่านี้เข้าครอบงำได้ ตนเองจึงจะเป็นสุขกายสุขใจ มีคนเท่าไรก็เป็นสุข ไม่ต้องเดือดร้อนเลย แต่เป็นสุขอย่างธรรมดาเท่านั้น ถ้าจะให้เป็นสุขและฉลาดยิ่งขึ้นไป ต้องเจริญภาวนาที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๔๓ – ๔๔  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

บริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ

มนุษย์ชายหญิงทุกถ้วนหน้า ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บริสุทธิ์สนิททั้งกาย วาจา จิต ไม่มีผิดจากความประสงค์ของพระพุทธเจ้าอรหันต์เลย ในศีลทั้ง ๕ นี้ตลอด ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ตลอดสะอาดสะอ้านทั้งกาย กายก็ไม่มีร่องเสีย วาจาก็ไม่มีร่องเสีย ใจก็ไม่มีร่องเสีย ใช้ได้ทั้งกายวาจาใจ ตรงกับบาลีกล่าวไว้ว่าสพฺพปาปสฺส อกรณํ        ชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ไม่กระทำเป็นเด็ดขาดกุสลสฺสูปสมฺปทา            ดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำจนสุดสามารถสจิตฺตปริโยทปนํ  ทำใจของตนให้ผ่องใสนี้เรียกว่าธรรมโดยทางปริยัติที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๘๓ – ๘๔…

สำรวมตามพระปาฏิโมกข์

สำรวมตามพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้ามทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีถ้าไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์มีความอายนัก มีความสะดุ้งกลัวนักอายว่าเป็นพระไม่บริสุทธิ์ ตายไปต้องไปนรก ไม่ต้องไปไหนถ้าว่าทำตัวให้บริสุทธิ์เป็นอันดี ได้ชื่อว่า “ สุกฺกธมฺมสมาหิตา”เกื้อกูลแล้วในธรรมอันขาว…(ที่มา หิริโอตตัปปะ๑ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ น.๘๖๐ บ.๒๑ )

ไม่โกงตัวเอง

ถ้าความบริสุทธิ์ไม่มีละก็อายนักเป็นคนสุมสี่สุ่มห้า โกงตัวเอง อายนัก ไม่กล้าจะทำได้ให้บริสุทธิ์ไว้ ไม่โกงตัวเอง พิจารณาศีล๕ให้บริสุทธิ์ไม่มีไม่บริสุทธิ์แล้วก็อาย อายและสะดุ้งกลัวด้วยจะได้รับผลชั่วแล้วเจ้า เพราะไม่บริสุทธิ์ ที่มา หิริโอตตัปปะ๒  น.๘๖๖

สุรา คือ โมหะ

ศีล ๕ สิกขาบท สุราเป็นตัวสำคัญ ตัวสำคัญทีเดียว  แบบเดียวกัน โลภะ โทสะ โมหะ ๓ ข้อนี้ ใครเป็นสำคัญ โมหะเป็นสำคัญ ตัวหลงเป็นตัวสำคัญถ้าว่าไม่มีศีลจริงแล้ว จะอวดว่าปฏิบัติศาสนาล่ะโกงตัวเอง ไม่ทำตัวเองให้พ้นจากทุกข์ได้ ตัวเองจะต้องอยู่ในปลักกิเลสนั่นเอง เปลื้องตนพ้นกิเลสไม่ได้ เหตุนี้ต้องคอยระแวดระวัง…ที่มา,หน้า ๒๓๐ (กัณฑ์ที่ ๑๗ ศีลเบื้องต่ำและศีลเบื้องสูง ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗)

การบำเพ็ญกุศล ด้วยการมีปิยวาจา

ถ้าว่า….หัดวาจาไพเราะเสียในชาตินี้ ชาติต่อๆไปวาจาของตน จะพูดอะไรก็สำเร็จกิจหมดทุกอย่าง ถ้าใช้วาจาหยาบก็เท่ากับวาจาจอบตัวเอง ในชาตินี้ก็ดีวาจาหมดอำนาจหมดสิทธิ์ ไม่มีอำนาจอะไร พูดไปก็เท่ากับไม่ได้พูด พูดอะไรเป็นไม่สำเร็จ เพราะวาจาของตน ไม่ได้บำเพ็ญกุศลทางวาจาไว้ ถ้าบำเพ็ญกุศลทางวาจาไว้แล้ว กล่าววาจาใดวาจาศักดิ์สิทธิ์ เรื่องวาจาศักดิ์สิทธิ์ นี่ไม่ได้เป็นของพอดีพอร้ายสำคัญนัก.ที่มา,หน้า ๗๓๘ บรรทัดที่ /๑๔/  (กัณฑ์ที่๕๗ สังคหวัตถุ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)

ศีลเป็นทางมาแห่งทรัพย์

“ เสียทรัพย์เสียไป ศีลอย่าให้เสีย ต้องรักษาไว้ ศีลเป็นสิ่งที่สร้างทรัพย์เจ้าทรัพย์…ถ้าว่ามีศีลละก็… ได้ชื่อว่าเป็น คนดี คนบริสุทธิ์แล้ว เป็นเจ้าทรัพย์
ทรัพย์ดึงดูดในโลกให้มาหา… ไม่ต้องเดือดร้อนอะไร ให้บริสุทธิ์จริงๆนะ อย่าบริสุทธิ์จอมปลอม ไม่ได้นะ…”