หลักธรรมะ

บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

เมื่อเราได้ถวายทานแล้ว ได้รักษาศีล ได้เจริญภาวนาแล้ว ก็ต้องให้เห็นผลทาน ให้เห็นผลศีล และให้เห็นผลของการเจริญภาวนา จึงจะได้ชื่อว่า เราทำบุญ รักษาศีล เจริญภาวนาแล้ว ใช้บุญใช้ศีล ใช้ภาวนาเป็น อย่าเกียจคร้าน จงหมั่นบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนาไว้ให้เสมอ เพื่อเราจะได้รับความสุข ทั้งในชาตินี้แบะในชาติหน้า ที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๘  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

สงเคราะห์ชาวโลก

ความสงเคราะห์ในโลกทั้งหลายนี้ เหมือนลิ่มสลักเพลารถที่แล่นไป ถ้าลิ่มสลักเพลาไม่มีเสียแล้ว กงรถก็หลุดจากเพลา แล่นไปไม่ได้ ถ้าลิ่มสลักเพลามีอยู่แล้ว กงรถนั้นก็ไปสะดวก ไม่ขัดข้องสิ่งหนึ่งสิ่งใดโลกจะได้รับความสุข เพราะอาศัยความประพฤติทั้ง ๔ อย่าง คือให้ทาน กล่าววาจาไพเราะ ประพฤติให้เป็นประโยชน์ในกันและกัน ความประพฤติตนให้สม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ ในบุคคลนั้นๆ ไม่ขาดตกบกพร่องใดๆ จะเข้าไปในหมู่ไหนพวกไหน เราเป็นหมู่นั้นพวกนั้นไปหมด ปรากฏเป็นแบบเดียวกัน เรามีพวกมากเท่าไรก็เป็นคนเดียวกันไปหมด ไม่แยกแตกจากกันบัณฑิตใดพิจารณาเห็นชอบ ซึ่งความสงเคราะห์ทั้งหลาย บัณฑิตจึงถึงซึ่งความเป็นใหญ่ เป็นผู้น่าสรรเสริญ.ที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑๘ – ๒๒๐ (กัณฑ์ที่ ๖ สังคหวัตถุ  ๒๐ กันยายน ๒๔๙๖)

ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์

เราควรประพฤติอย่างไร จึงเรียกว่า ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกันในโลกนี้ มีพวกเท่าไรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่กันและกันเท่านั้น อย่าแต่ความสุขส่วนตัวผู้เดียว ให้ความสุขเสมอทั่วหน้ากันเริ่มจากพ่อแม่แก้ไขให้ลูกเป็นปริญญาหมดทุกคน มีการงานชั้นสูงทั้งนั้น เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้เป็นสุขเหมือนเทวดาได้ นี้ได้ชื่อว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานก่อน วงศาคณาญาติก็ประพฤติเช่นนั้น ให้ประโยชน์เช่นนั้น แก้ไขให้ต่างเลี้ยงตัวได้ ไม่ต้องพึ่งใคร ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน มีวิชาความรู้ ให้ความสุขแก่มนุษย์เพื่อนบ้านด้วยกัน เขาจะรุ่งเรืองอย่างไร แก้ไขอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน.ที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑๗ – ๒๑๘ (กัณฑ์ที่ ๖ สังคหวัตถุ  (๒๐ กันยายน ๒๔๙๖)

วาจาไพเราะ

เมื่อเราผู้มีบุญเช่นนี้ ไปอยู่ในสถานที่ใด ลูกหลาน พวกพ้องวงศาคณาญาติก็มาก เราต้องอาศัยวาจาที่ไพเราะเสนาะโสต เมื่อกล่าววาจาอันใดออกไปแล้ว เป็นที่ดึงดูดใจ เหนี่ยวรั้งใจ เป็นที่สมัครสมานในกันและกัน ไม่เป็นที่กระทบกระเทือนในกันและกัน มีวาจาเช่นนั้นเรียกว่าเป็นคนสุภาพ เป็นคนมีมารยาท มีถ้อยคำวาจาเป็นหลักเป็นประธาน อยากจะฟังแล้ว อยากจะฟังอีกอยู่ร่ำไป ดังนี้เรียกว่า     ปิยวาจา วาจาไพเราะอย่างนี้แหละ เป็นของสำคัญนักในหมู่มนุษย์ จำเป็นจะต้องใช้.ที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑๖ – ๒๑๗ (กัณฑ์ที่ ๖ สังคหวัตถุ  (๒๐ กันยายน ๒๔๙๖)

เงินทองข้าวของมาหาเอง

พระพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปหาเงินทองข้าวของเมื่อประพฤติถูกส่วนเข้าแล้ว เงินทองข้าวของมันมาหาเองข้าวปลาอาหารมาหาเองทั้งนั้น จะไปอยู่ในป่าในดอนในดงที่ไหนก็ไปแต่เงินทองข้าวของมาหาเองทั้งนั้น นี่ทางพระพุทธศาสนาแต่ว่าเดินลึก สงเคราะห์อนุเคราะห์มหาชนอนุชนทั้งหลายให้รู้ธรรมกายจริงๆ(ที่มา รัตนะ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๗ น.๘๑๙ บ.๑๕)

ตอบแทนคุณบิดามารดา

ชื่อว่าแทนคุณแท้ๆมารดาบิดาไม่มีศรัทธา ให้มีศรัทธาขึ้นไม่มีศีล ให้มีศีลขึ้น ไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใสขึ้นไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษขึ้น๔ ประการนี้วางหลักไว้ ผู้หญิงก็แทนคุณบิดามารดาได้ผู้ชายก็แทนคุณบิดามารดาได้(ที่มา รัตนะ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๗ น.๘๓๒ บ.๑๐)

ใช้ปัญญาในการไตร่ตรอง

ถ้าเราจะทำสิ่งใดด้วยกายละก็เอาปัญญาสอดส่องตรองเสียก่อนหนาถ้าว่าร้อนเราละก็อย่าทำ ร้อนเขาอย่าทำ ร้อนทั้งเราทั้งเขาล่ะอย่าทำถ้าไม่ร้อนละก็ทำเถิดท่านจะคิดสิ่งใด จะพูดสิ่งใดด้วยวาจาต้องเอาปัญญาเข้าสอดส่องตรองซะก่อนหนาถ้าว่าร้อนเราอย่าพูด ร้อนเขาอย่าพูด ร้อนทั้งเราทั้งเขาอย่าพูดถ้าว่าไม่ร้อนล่ะก็พูดเถิดท่านจะคิดสิ่งใดทางใจ ถ้าว่าร้อนเราอย่าคิด ร้อนเขาอย่าคิด ร้อนทั้งเราทั้งเขาอย่าคิดถ้าไม่ร้อนเราร้อนเขาล่ะก็คิดเถิด(ที่มา โอวาทปาฏิโมกข์ ๒๗ มกราคม ๒๔๙๙ น.๘๔๘ บ.๒)

พระของขวัญ

เอาใจจรดเข้าที่พระของขวัญนั้น ขออาราธนา พระองค์ได้ทรงโปรดข้าพระพุทธเจ้าเป็นพ่อค้า หญิงก็หม่อมฉันเป็นแม่ค้าการค้าของข้าพระพุทธเจ้า ขอให้กว้างขวางเต็มประเทศไทยล้นประเทศไทย ขอให้ซื้อง่ายขายคล่องกำไรงาม ดังไปถึงพระนิพพานก่อนจะค้าขายภาวนาอย่างนี้ทุกคราวไป ขายของ ขายง่าย ขายดายขายสะดวกเหมือนเทน้ำเทท่า..(ที่มา โอวาทเนื่องด้วย พระของขวัญ น.๘๘๑ บ.๓)

ดีที่สุด คือพระพุทธเจ้า ชั่วที่สุด คือมาร

ดีที่สุด คือพระพุทธเจ้า ชั่วที่สุด คือมารมารปล่อยสายมาปกครองมนุษย์มนุษย์ตกเป็นบ่าวเป็นทาสของ โลภะ โทสะ โมหะ(ผลคือความเสียหาย) มีแก่ มีเจ็บ มีตายที่เป็นเช่นนี้เพราะนายโลภะ โทสะ โมหะ เขาปกครองเขาสั่งให้ทำเช่นนั้น เอาบ้านเอาเมืองมาล่อ เอาความเจ็บความตายมาให้ปราบมารเหล่านี้ลงเสียได้ มนุษย์จะได้อยู่เย็นเป็นสุข(ที่มา โอวาทแสดงในวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อ ๗ ตุลาคม ๒๔๙๘ น.๙๘๐)