Teachings

การละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ละอย่างไร?  เราต้องเดินในช่องทางของ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนี่เอง ใจต้องหยุด ต้องหยุดทีเดียวถึงจะละ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้ เริ่มต้นต้องหยุดเชียว พอหยุดกึ๊กเข้าก็ได้การทีเดียว อ้อ! พอหยุดกึ๊กเข้า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับหมด ถ้าว่าไม่หยุดละก็  เป็นไม่ได้การทีเดียว ไปไม่รอดไม่พ้นทีเดียว.ที่มา,หน้า ๒๐๐ บรรทัดที่๑และ  ๑๙๙บ.๒๕  (กัณฑ์ที่ ๑๖  เขมาเขมสรณาคมน์ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗)

อย่าประมาท

อย่าเลินเล่อ อย่าเผลอตัว อย่าประมาท ถ้าว่าประมาทเลินเล่อเผลอตัวแล้วความตายจะมาถึงเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ต้องไม่ประมาทจึงจะใช้ได้ความไม่ประมาทนั้นเป็นตัวสำคัญ เป็นตัวไม่เผลอ เป็นตัวไม่ตายเพราะความประมาทนั้นเป็นตัวสำคัญ เป็นตัวเผลอ เป็นตัวตายนี่เพราะเป็นอยู่ดังนี้..(ที่มา โอวาทสุดท้าย เมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๐ น.๙๐๒ บ.๒๓)

วัตถุทาน

บุญนั้น ไม่ใช่มองไม่เห็น มองเห็นได้ บุญนั้นอยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร เราทำให้ถูกส่วนเข้า จึงจะมองเห็นบุญอย่างแน่แท้ โดยไม่ต้องสงสัยการทำบุญ ต้องทำให้ถูกส่วน ถูกส่วนตรงไหน คือนำเครื่องไทยทานวัตถุ มาถวายพระภิกษุสงฆ์ พระภิกษุสงฆ์รับเครื่องไทยทานวัตถุจากมือของผู้ให้ เครื่องไทยทานขาดจากสิทธิของผู้ให้ เป็นสิทธิของผู้รับขณะใด ปุญญาภิสันทา บุญไหลมาในขณะนั้นที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๔๖  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

เมื่อเราได้ถวายทานแล้ว ได้รักษาศีล ได้เจริญภาวนาแล้ว ก็ต้องให้เห็นผลทาน ให้เห็นผลศีล และให้เห็นผลของการเจริญภาวนา จึงจะได้ชื่อว่า เราทำบุญ รักษาศีล เจริญภาวนาแล้ว ใช้บุญใช้ศีล ใช้ภาวนาเป็น อย่าเกียจคร้าน จงหมั่นบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนาไว้ให้เสมอ เพื่อเราจะได้รับความสุข ทั้งในชาตินี้แบะในชาติหน้า ที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๘  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

นึกถึงความเสื่อมของร่างกาย

ความเสื่อมน่ะ จะนึกที่ไหน นึกถึงในตัวของเรานี่ อัตภาพร่างกายนี้ไม่คงที่เลย……นี้แหละเจอละ ทางไป ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เป็นหนทางหมดจดวิเศษทีเดียว นึกถึงความเสื่อมอันนั้น นึกถึงความเสื่อมได้เวลาไรละก็ บุญกุศลยิ่งใหญ่เกิดกับตนเวลานั้น ให้นึกอย่างนี้ นี่เป็นข้อสำคัญ…ที่มา,หน้า ๒๑๘ (กัณฑ์ที่ ๑๖ ปัจฉิมวาจา ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗)

บุญทำให้สะดวกสบาย

ถ้าเรามีบุญเสียแล้ว จะค้าขายก็ร่ำรวย จะทำงานทำกิจการอะไรก็เจริญ จะหาทรัพย์สมบัติก็ได้คล่อง สะดวกสบายไม่ติดขัดแต่ประการใด ถ้าว่าไม่มีบุญ จะทำอะไรก็ติดขัดไปเสียทุกอย่างทุกประการดังนั้น จึงได้ชักชวนพวกเราให้มาทำบุญทำกุศลเสีย จะได้เลิกจน เลิกทุกข์ยากลำบากเสียทีที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๒  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

ทุกข์ทางร่างกาย

ทุกข์น่ะมีจริงๆนะ หมดทั้งร่างกายนี้ทุกข์ทั้งก้อน หรือใครว่าสุข ลองเอาสุขมาดู ก็จะไปหยิบเอาทุกข์ให้ดูทั้งนั้น ตลอดจนกระทั้งชาติ เกิดก็เป็นทุกข์ ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิดเป็นทุกข์ เมื่อเกิดแล้วก็มีแก่ มีเจ็บ มีแปรไปตามหน้าที่ ก็ออกจากทุกข์นั่น ทั้งนั้น ไม่ใช่ออกจากสุข ต้นนั่นเป็นทุกข์ทั้งนั้น เกิดนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ล่ะ ต้องกำหนดรู้มันไว้.ที่มา,หน้า ๓๒๕ บ.24  (กัณฑ์ที่ ๒๔ ติลักขณาทิคาถา ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗)

การทำบุญเลี้ยงพระ

การทำบุญเลี้ยงพระเช่นนี้ถูกต้องตำรับ ตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะพระองค์ทรงรับสั่งไว้ว่า “ โภชนํ ภิกฺขเว ททมาโน ทายโก” ทายกผู้ให้ทานโภชนาหาร “ ปฏิคฺคาหกานํ ปญฺจ  ฐานานิ เทติ”  ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ประการแก่ปฏิคาหก“ กตมานิ ปญฺจ ฐานานิ” ฐานะ ๕ประการเป็นไฉน“อายํ เทติ” ชื่อว่าให้อายุประการหนึ่ง“วณฺณํ เทติ” ชื่อว่าให้วรรณะปประการหนึ่ง“สุขํ เทติ” ชื่อว่าให้ความสุขประการหนึ่ง“พลํ เทติ” ชื่อว่าให้กำลังประการหนึ่ง“ปฏิภาณํ เทติ” ชื่อว่าให้ความเฉลียวฉลาดประการหนึ่ง…ที่มา,หน้า ๔๐๓ บรรทัดที่ ๒๕-๒๘ หน้า๔๐๔ บ,๑-๓ (กัณฑ์ที่๓๐ ภัตตานุโมทนากถา ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)

ดวงบุญช่วย

เมื่อสละไทยธรรมเสร็จ ขาดลงไป มอบให้แก่พระภิกษุ พระภิกษุรับ เป็นสิทธิใช้ได้บริโภคได้ ให้เด็กให้เล็ก ให้ใครก็ได้ เป็นสิทธิ์ของผู้รับ ขาดจากสิทธิ์ของผู้ให้ขณะใด ขณะนั้นแหละ ปุญฺญาภิสนฺทา บุญไหลมาจากสายธาตุสายธรรม  ของตัวเองโดยอัตโนมัติ เข้าสู่อัตโนมัติ คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ในกลางกายมนุษย์นี้ กลางดวงนั่นแหละ เป็นที่ตั้งของบุญ บุญไหลมาติดอยู่กลางดวงนั้นเมื่อต้องภัยได้ทุกข์อะไร จรดอยู่ดวงบุญนั้น ให้ดวงบุญนั้นช่วย อย่าไปนึกถึงสิ่งอื่นนะ นึกถึงบุญกุศลที่ตนกระทำนั้นแหละ เป็นที่พึ่งของตัวจริง ช่วยตัวได้จริงๆ. BBที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑๔ – ๒๑๕ (กัณฑ์ที่ ๖ สังคหวัตถุ  (๒๐ กันยายน ๒๔๙๖)